
“รองช้ำ” หรือภาวะพังผืดฝ่าเท้าอักเสบ (plantar fasciitis)
คือ ภาวะที่มีอาการเจ็บบริเวณส้นเท้าตรงจุดที่พังผืดฝ่าเท้า (plantar fascia) เกาะที่กระดูกส้นเท้า เป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในเพศหญิงซึ่งผู้ป่วยมักมีอาการเจ็บส้นเท้า และมักเป็นมากในตอนเช้าเมื่อลุกจากเตียงโดยอาการมักเป็นๆ หายๆ และเป็นมากขึ้นตามลักษณะการใช้งานการอับเสบจะเกิดขึ้นที่เอ็นบริเวณส้นเท้าต่อเนื่องไปจนถึงเอ็นร้อยหวาย ในรายที่เป็นมานาน
สาเหตุของโรครองช้ำ
รองช้ำมีสาเหตุมาจากจุดเกาะพังผืดฝ่าเท้าอักเสบ จะเห็นว่าพังผืดฝ่าเท้าของเราจะเกาะจากกระดูกส้นเท้าไปที่หน้าเท้า นอกจากนั้น บริเวณกระดูกส้นเท้ายังมีเอ็นร้อยหวายมาเกาะอยู่ด้วย โดยพังผืดฝ่าเท้ากับเอ็นร้อยหวายจะทำงานผสานกันอยู่ตลอดเวลา
พังผืดฝ่าเท้าที่ตึงเกินไปจะทำให้แต่ละก้าวเดินเราใช้งานพังผืดฝ่าเท้ามากกว่าปกติ เมื่อเดินมากๆ ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ จุดเกาะพังผืดฝ่าเท้าก็อักเสบขึ้นมาได้ ซึ่งรองช้ำอาจเกิดขึ้นจากสาเหตุ อื่นๆ อาทิ การมีดัชนีมวลกายสูง การมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การมีเอ็นร้อยหวายตึง การสวมรองเท้าที่ไม่เหมาะสม การมีกิจกรรมที่ลงน้ำหนักซ้ำๆ เช่น การวิ่ง
อาการ
มีอาการปวดใต้ส้นเท้ามากในช่วงเช้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก้าวแรกที่ลงจากเตียงหรือเมื่อยืนลงน้ำหนักภายหลังจากนั่งเป็นระยะเวลานาน เมื่อเดินไประยะหนึ่งอาการมักจะดีขึ้น แต่อาการปวดอาจเป็นมากขึ้นอีกหลังจากการเดินนานเกินไป
การรักษา
- การออกกำลังกายเพื่อยืดพังผืดฝ่าเท้า และยืดเอ็นร้อยหวายเป็นประจำ
- การปรับรองเท้าให้มีพื้นนุ่มที่มีส้นสูงเล็กน้อย หรือเสริมอุปกรณ์ในรองเท้า เช่น อุปกรณ์ลดแรงบริเวณส้นเท้า (Heel cushion), อุปกรณ์เสริมอุ้งเท้าด้านใน (medial arch support) หรือแผ่นรองเท้าชนิดหล่อพิเศษเฉพาะราย
- การรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู และกายภาพบำบัด เช่น การใช้คลื่นกระแทก (Extracorporeal shock wave therapy) การฉีดยา เป็นต้น
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทร. 055-90-9000 ต่อ 4511, 4512