
มะเร็งปอด (lung cancer)
โรคมะเร็งปอด แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ตามขนาดของเซลล์ ซึ่งความแตกต่างของขนาดเซลล์นี้มีความสำคัญ เนื่องจากวิธีการรักษาจะแตกต่างกัน
- มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (small cell lung cancer) พบได้ประมาณ 10-15% เซลล์จะเจริญเติบโตและแพร่กระจายได้รวดเร็วกว่ามะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว การรักษาจะไม่ใช้วิธีการผ่าตัด ส่วนมากจะรักษาด้วยการใช้ยา หรือฉายรังสี
- มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก (non-small cell lung cancer) พบได้บ่อยกว่ามะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก โดยพบได้ประมาณ 85-90% แต่จะแพร่กระจายได้ช้ากว่า และสามารถรักษาให้หายได้โดยการผ่าตัดหากพบตั้งแต่ระยะแรก
สาเหตุของโรคมะเร็งปอด
- การสูบบุหรี่ หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีควันบุหรี่
- การสัมผัสกับก๊าซเรดอน เรดอนเป็นธาตุกัมมันตรังสีที่เป็นก๊าซเฉื่อย สามารถพบทั่วไปในอากาศ ซึ่งอาจพบสะสมในตัวอาคารบ้านเรือน การสัมผัสก๊าซนี้เป็นสาเหตุหลักในการก่อโรคมะเร็งปอดในผู้ป่วยที่ไม่สูบบุหรี่
- การสัมผัสสารก่อมะเร็ง เช่น การหายใจเอาแร่ใยหิน หรือควันจากท่อไอเสียเข้าสู่ร่างกาย การหายใจหรือบริโภคสารเคมีบางชนิด เช่น อาร์เซนิก ถ่านหิน หรือการสัมผัสสารยูเรเนียม
- การรักษาด้วยการฉายแสงที่ทรวงอก เช่น ในผู้ป่วยที่เป็นโรค Hodgkin lymphoma หรือผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเต้านมเพื่อรักษาโรคมะเร็งเต้านม
- บุคคลที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งปอด
- มลภาวะทางอากาศ
อาการของโรค
อาการแสดงเบื้องต้นของโรคมะเร็งปอดนั้นจะไม่มีอาการชัดเจน โดยอาการแสดงที่พบส่วนมากมักจะเกิดเมื่อโรคดำเนินไปถึงระยะลุกลามแล้ว อาการที่พบบ่อยคือ
- ไอเรื้อรัง
- ไอพร้อมมีเลือดออกมา
- เจ็บหน้อก
- หายใจได้สั้น
- น้ำหนักลดโดยหาสาเหตุไม่ได้
- เหนื่อยง่าย อ่อนแรง
การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งปอด
- Chest X-ray
- CT chest
- Low- Dose CT Chest (LDCT)
แหล่งที่มา : ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิคล
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่
โรงพยาบาลพิษณุเวช
โทร 1208 หรือ 055-90-9000
แพ็กเกจอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ
บทความอื่นๆ
Post Views:
7