ตรวจตับง่ายๆ ด้วย "ไฟโบรสแกน (Fibro Scan)"

“ตับ” เป็นอวัยวะที่มีหน้าที่สำคัญ อาทิ ย่อยอาหารประเภทไขมัน ขจัดสารพิษ ทำลายเชื้อโรค ถ้าเราไม่ใช้งานตับมากเกินไป ตับก็จะสามารถทำหน้าที่ของเขาได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ แต่เมื่อวันใดก็ตามที่เราละเลย ขาดการเอาใจใส่ตับ ทั้งเรื่องอาหารการกิน พฤติกรรมการใช้ชีวิต ก็อาจเป็นการทำลายตับได้แบบที่เราไม่รู้เนื้อรู้ตัว ดังนั้น เมื่อเราไม่มั่นใจว่า ณ ปัจจุบันตับเรายังมีความสุข สุขสบายดีอยู่หรือไม่นั้น เราสามารถตรวจเช็คการทำงานของตับด้วย ด้วย “ไฟโบรสแกน”
ไฟโบรสแกน (Fibro Scan) คืออะไร
ไฟโบรสแกน คือ เทคโนโลยีในการตรวจหาภาวะพังผืดในเนื้อตับ และตรวจวัดปริมาณไขมันสะสมในตับ โดยไม่ต้องเจ็บตัว หรือเจ็บปวดใดๆ กับร่างกาย และลดอัตราความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อน เมื่อเทียบกับการเจาะตัว (Liver Biopsy)
ตรวจไฟโบรสแกน (Fibro Scan) เพื่ออะไร
ผลตรวจไฟโบรสแกนสามารถช่วยในการติดตามผลดำเนินโรค และประเมินระดับความรุนแรงของภาวะตับแข็ง เพื่อเช็คการตอบสนองและวางแผนการแก้ไขต่อไป โดยอาจใช้แทนการเจาะเนื้อตับในผู้ป่วยที่มีข้อห้ามหรือปฏิเสธการเจาะตับ
อาการแบบไหนที่ควรตรวจไฟโบรสแกน (Fibro Scan)
- มักรู้สึกอ่อนเพลีย อาหารไม่ย่อย
- มีประวัติการดื่มสุราเรื้อรัง
- มีประวัติว่าคนในครอบครัวป่วยเป็นมะเร็งตับ
- มีอาการตาเหลืองและตัวซีดเหลืองผิดปกติ
ขั้นตอนวิธีการตรวจไฟโบรสแกน (FibroScan)
- นอนหงายโดยยกแขนทั้งสองข้างไว้เหนือศีรษะ ทาเจลที่หัวตรวจหรือผิวหนังคนไข้เล็กน้อย
- ทำการตรวจวัดที่บริเวณตำแหน่งตรงกลางเนื้อตับทั้งหมด 10 ครั้งในจุดเดียวกัน
- ผลที่ได้เป็นค่าความแข็งของตับ เป็นเลขตั้งแต่ 1.5-75 กิโลพาสคาล และค่าปริมาณไขมันสะสมในตับตั้งแต่ 100-400 เดซิเบล/เมตร ซึ่งแพทย์จะแปลผลที่ได้ เพื่อใช้เป็นข้อมูลส่วนหนึ่งในการรักษาผู้ป่วยโรคตับ

ข้อดีของการตรวจไฟโบรสแกน (FibroScan)
- ไม่เกิดความเจ็บปวด และไม่เป็นอันตรายใดๆ กับร่างกายตรวจง่าย
- รวดเร็ว ใช้เวลาไม่เกิน 5-10 นาที
- ทราบผลทันที
ในการตรวจจะรู้สึกสั่นสะเทือนบริเวณผิวหนังที่ปลายหัวตรวจเล็กน้อยในกรณีที่ต้องติดตามผลอย่างใกล้ชิด สามารถ
ตรวจซ้ำได้หลายครั้งและปลอดภัย และควรตรวจจากแพทย์เฉพาะทางผู้เชี่ยวชาญด้านโรคตับหรือบุคลากรที่ได้รับการ
อบรมจะเป็นผู้ตรวจไฟโบรสแกน
ข้อห้ามในการตรวจไฟโบรสแกน (FibroScan)
ห้ามใช้กับหญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากคลื่นความถี่จากเครื่องไฟโบรสแกนอาจมีผลต่อการพัฒนาการและการเจริญเติบโตของตัวอ่อนในครรภ์ แพทย์จึงไม่ควรใช้กับหญิงตั้งครรภ์เด็ดขาดและไม่ควรให้หญิงตั้งครรภ์อยู่ใกล้กับตัวเครื่องในขณะเปิดใช้งานด้วย
ศูนย์โรคทางเดินอาหารและตับโทร. 1208 หรือ 055-90-9000 ต่อ 4337
แชร์บทความ คลิก
การรักษาภูมิแพ้ ด้วยวิธีทางภูมิคุ้มกันวิทยา (Immunotherapy)
การรักษาภูมิแพ้ ด้วยวิธีทางภูมิคุ้มกันวิทยา (Immunother…
โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endomeriosis)
โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endomeriosis) สาเหตุ เก…
ไวรัส HPV วายร้ายตัวจิ๋ว ถ้าไม่ป้องกันก็ติดได้
ไวรัส “HPV” ไวรัสตัวจิ๋ว ถ้าไม่ป้องกันก็ติด…
อาการเสี่ยง คุณอาจเผชิญกับภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ
ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ PCOS (Polycystic ovary syndrome)…
ตรวจสุขภาพตับง่ายๆ กับ “ไฟโบรสแกน” (FibroScan)
ตรวจตับง่ายๆ ด้วย “ไฟโบรสแกน (Fibro Scan)” …
ป้องกันตัวคุณจากสัตว์เลี้ยง ด้วยวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า
ปกป้องคุณจากสัตว์เลี้ยงแสนรัก ด้วยวัคซีนพิษสุนัขบ้า โรค…
มาทดสอบกัน? หัวใจของคุณแข็งแรงแค่ไหน
มาทำความรู้จักการวิ่งสายพาน เช็คดูว่าหัวใจของคุณแข็งแรง…
โปรโมชั่นเตรียมความพร้อม ด้วยแบบประเมิน Denver II
โปรโมชั่นเตรียมความพร้อมให้ลูก ด้วยแบบประเมิน Denver II…
โปรโมชั่นวัคซีนเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียน
โปรโมชั่นวัคซีนเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียน ดาวน์โหลดเอ…
โปรโมชั่น Office Syndrome ปกป้องโรคฮิต ที่ไม่ควรมองข้าม
โปรโมชั่น Office Syndrome ปกป้องโรคฮิต ที่ไม่ควรมองข้าม…
ผู้ถือบัตร KTC รับแพ็กเกจวัคซีนราคาพิเศษ + แลกรับเครดิตเงินคืน 300 บ.
แพ็กเกจวัคซีน ราคาพิเศษ หรือแลกรับเงินคืน 300 บาท สิทธิ…
ยิ้มได้ทุกการรักษากับบัตรเครดิต KTC
ยิ้มได้ทุกการรักษากับบัตรเครดิต KTC และสุขภาพดี ดูแลด้ว…
โปรโมชั่นตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
โปรโมชั่นตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ดาวน์โหลด : โปรโมชั่…
โปรโมชั่น โปรแกรมตรวจสุขภาพ Fit to You
โปรแกรมตรวจสุขภาพ Fit to You โรงพยาบาลพิษณุเวช มอบโปรแก…