ศูนย์มะเร็งพิษณุเวช ฮอไรซัน ร่วมดูแลโดย ทีมแพทย์โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

การผนึกกำลังครั้งสำคัญ โรงพยาบาลพิษณุเวช ร่วมกับ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ สู่เทคโนโลยีใหม่ทางการแพทย์ในการรักษา “มะเร็ง”
มะเร็งเป็นโรคที่มีคนเสียชีวิตมากเป็นอันดับต้นๆ ถือเป็นโรคที่พบบ่อยขึ้นในปัจจุบัน และสามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย ศูนย์มะเร็งฮอไรซัน โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ให้การดูแลรักษาโรคมะเร็งอย่างครอบคลุมด้วยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการจากหลายสาขาร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความชำนาญการด้านมะเร็งโดยเฉพาะ ตั้งแต่การป้องกัน การตรวจคัดกรอง การวินิจฉัย การรักษา การติดตามผลการรักษาและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ไปจนถึงการดูแลด้านสภาวะจิตใจ โภชนาการ การจัดการกับความเจ็บปวด และการเฝ้าระวังการกลับมาเป็นซ้ำของโรคอย่างใกล้ชิด และมีห้องปฏิบัติการ (Lab) ที่ได้รับการรับรองมาตราฐานระดับสากลอยู่ภายในโรงพยาบาล ทำให้ได้ผลตรวจรวดเร็วและแม่นยำ
โรงพยาบาลพิษณุเวชได้เล็งเห็นโอกาสในการขยายขอบเขตการให้บริการของ ‘ศูนย์รักษามะเร็ง’ และขยายฐานผู้ป่วยที่ต้องการเข้าถึงเทคโนโลยีการรักษาขั้นสูง ทันสมัย ในราคาที่จับต้องได้ และช่วยให้ผู้ป่วยไม่ต้องเดินทางไปไกล ได้รับการดูแลรักษาโรคมะเร็งแบบครบวงจร จึงได้ร่วมมือกับโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ผนึกกำลังความร่วมมือจัดตั้ง “ศูนย์มะเร็งพิษณุเวช ฮอไรซัน ร่วมดูแลคุณโดย โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ “ โดยนำจุดแข็ง 4 ด้านมาเป็นแนวทางเพื่อประโยชน์สูงสุดในการรักษาผู้ป่วย
HOPE ความหวังให้คุณก้าวต่อ..
High Tech with Hi-touch เทคโนโลยีทันสมัยเพื่อคุณ
ผู้นำความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและวิทยาการทางการแพทย์ของการรักษาโรคมะเร็งมสู่คนพิษณุโลก และพี่น้องในภาคเหนือตอนล่าง ด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัยในการตรวจหาความผิดปกติของยีน เพื่อวิเคราะห์โอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งของแต่ละบุคคลในอนาคต และเทคโนโลยีการตรวจหาการกลายพันธุ์ของเซลล์มะเร็งจากชื้นเนื้อมะเร็งและจากเลือด เพื่อการตรวจหาขั้นลึกเฉพาะคุณแต่ละราย Outcome-result services ผลลัพธ์ที่ดีเพื่อคุณ Genetic test & targeted therapy การรักษาแบบตรงเข้าทำลาย เฉพาะเซลล์ที่เกิดมะเร็งซึ่งส่งผลข้างเคียงในระดับที่ต่ำ ดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งอย่างเฉพาะเจาะจง เหมาะสม แตกต่างกันในแต่ละรายโดยแพทย์ผู้ชำนาญการต้านมะเร็ง เพื่อผลลัพธ์ที่ดีสำหรับคุณ
Outcome-result services ผลลัพธ์ที่ดีเพื่อคุณ
Genetic test & targeted therapy การรักษาแบบตรงเข้าทำลายเฉพาะเซลล์ที่เกิดมะเร็งซึ่งส่งผลข้างเคียงในระดับที่ต่ำ ดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็ง อย่างเฉพาะเจาะจง เหมาะสม แตกต่างกันในแต่ละรายโดยแพทย์ผู้ชำนาญการต้านมะเร็ง เพื่อผลลัพธ์ที่ดีสำหรับคุณ
Partnership ความร่วมมือครั้งสำคัญเพื่อคุณ
ความร่วมมือครั้งสำคัญระหว่าง รพ.พิษณุเวช และ รพ.บำรุงราษฎร์ โดยทีมแพทย์สหสาขาวิชาชีพเฉพาะทางด้านโรคมะเร็งที่ผ่านการอบรมตามมาตรฐานของ รพ.บำรุงราษฎร์ ผสานกับเทคโนโลยีการรักษาอันทันสมัย เพื่อผลลัพธ์การรักษาที่ดีของผู้ป่วยทุกราย
Expertise Cancer Care Team ทีมแพทย์เฉพาะทางเพื่อคุณ
ดูแลคุณโดยทีมแพทย์สหสาขาวิชาชีพเฉพาะทางด้านโรคมะเร็ง (Tumor Board) ที่มีประสบการณ์รักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งมากกว่า 24,000 ราย ต่อปี จาก รพ.พิษณุเวช และ รพ.บำรุงราษฎร์ ผนึกทีมความเชี่ยวชาญในการรักษาโรคมะเร็งต่างชนิด และเทคโนโลยีการรักษาอันทันสมัย เพื่อสู้ไปพร้อมกับคุณ
การป้องกัน (Prevention)
พันธุกรรมเป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งของการเกิดโรคมะเร็ง ดังนั้น บำรุงราษฎร์มีบริการตรวจหาการกลายพันธุ์ของยีนส์ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยแพทย์เฉพาะทางด้านพันธุกรรมในการแปลผล โดยห้องปฏิบัติการ (Lab) ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานระดับสากล ทำให้ได้ผลตรวจรวดเร็วและแม่นยำ
การตรวจคัดกรองมะเร็ง (Screening)
ช่วยทำให้ค้นพบโรคแต่เนิ่นๆ เพื่อทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงในการเป็นมะเร็ง เช่น ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็ง
- การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยดิจิตอลแมมโมแกรมและอัลตร้าซาวน์
- การตรวจคัดกรองมะเร็งปอดด้วย Low dose CT
- การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วย Pap smear, HPV
- การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (colonoscopy)
- การตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากด้วยการเจาะเลือด และหากผลเลือดผิดปกติ อาจจะวินิจฉัยเพิ่มด้วยวิธีอัลตร้าซาวน์ หรือ MRI
- การตรวจคัดกรองมะเร็งตับด้วยการเจาะเลือดและอัลตร้าซาวน์ หรือมะเร็งกระเพาะอาหารด้วยวิธี Esophagogastroduodenoscopy (EGD) ในกลุ่มที่มีความเสี่ยง
- การวินิจฉัยโรค (Diagnosis)
- การวินิจฉัยโรคอย่างถูกต้อง ทันเวลา ทำให้รักษาโรคได้อย่างแม่นยำ และการรู้ระยะของโรค ช่วยให้วางแผนการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยศูนย์มะเร็งพิษณุเวช ฮอไรซัน ร่วมดูแลคุณโดย โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ มีพยาธิแพทย์ผู้ชำนาญการด้านการตรวจชิ้นเนื้อเพื่อวินิจฉัยว่าชิ้นเนื้อนั้นมีเซลล์มะเร็งหรือไม่ และถ้าเป็นเซลล์มะเร็งเป็นระยะที่เท่าไหร่ ซึ่งการตรวจชิ้นเนื้อต้องอาศัยความชำนาญขั้นสูงเพื่อความแม่นยำ
- การรักษา (Treatment)
- โดยการผสมผสานการรักษาหลายวิธีเข้าด้วยกัน ซึ่งศูนย์มะเร็งพิษณุเวช ฮอไรซัน ร่วมดูแลคุณโดย โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จะมีการประชุม Tumor Board ของทีมแพทย์สหสาขาวิชาชีพเฉพาะทางด้านโรคมะเร็ง เช่น อายุรแพทย์ด้านโรคมะเร็ง ศัลยแพทย์ด้านโรคมะเร็ง พยาธิแพทย์ รังสีแพทย์ เจ้าหน้าที่ห้อง lab และเภสัชกร เพื่อหาวิธีการรักษาร่วมกัน และยังมี IBM Watson for Oncology ระบบ AI ที่มาช่วยในการประมวล เพื่อตัดสินใจวางแผนการรักษามะเร็ง นอกจากนี้ ยังมีการทดสอบการตรวจหาการกลายพันธุ์ของเซลล์มะเร็งจากชิ้นเนื้อมะเร็งและจากเลือด ซึ่งทั้งหมดนี้เพื่อการรักษาที่เฉพาะเจาะจงและให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
- การติดตามผลการรักษา (Follow up)
มีการติดตามและเฝ้าระวัง เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นมะเร็งซ้ำที่อาจเกิดขึ้นได้หลังจากที่ทำการรักษาจนครบแล้ว
นอกจากนี้ ยังมีการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative Care) สำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย โดยทีมบุคลากรเฉพาะทางด้านโรคมะเร็งที่ดูแลอย่างใกล้ชิด ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ เช่น อายุรแพทย์ด้านโรคมะเร็ง นักโภชนากร พยาบาลเฉพาะทางที่ดูแลผู้ป่วยมะเร็ง เพื่อให้ผู้ป่วยลดความทรมาน เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว
คณะแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์
ศูนย์มะเร็งพิษณุเวช ฮอไรซัน โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ให้การดูแลและวางแผนการรักษาผู้ป่วยโดยเน้นการดูแลผู้ป่วยเป็นทีมแบบสหสาขาวิชาชีพ (multidisciplinary care) เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วย ประกอบด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขาและบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็ง ดังนี้
ทีมแพทย์
- อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็ง
- อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคเลือดและมะเร็ง
- อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกถ่ายไขกระดูก
- ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็ง
- สูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งนรีเวช
- กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคเลือดและมะเร็งในเด็ก
- กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกถ่ายไขกระดูก
- รังสีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็ง
- รังสีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็ง
- พยาธิแพทย์
- วิสัญญีแพทย์ระงับความเจ็บปวด
บุคลากรทางการแพทย์
- พยาบาลผู้มีความเชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็ง
- เภสัชกรผู้มีความเชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็งและยาเคมีบำบัด
- นักฟิสิกส์การแพทย์
- นักรังสีเทคนิค
- นักโภชนาการ
เครื่องมือทางการแพทย์
รังสีรักษา
- เครื่องฉายรังสีชนิดเครื่องเร่งอนุภาคอิเล็กตรอนพลังงานสูงแบบ 2 พลังงาน
- เครื่องเอกซเรย์ซิมูเลเตอร์สำหรับหาตำแหน่ง ขนาด และขอบเขตของการรักษา ตลอดจนใช้ในการวางแผนการรักษา และกั้นลำรังสีสำหรับส่วนที่ไม่จำเป็นต้องได้รับรังสี ซึ่งเชื่อมต่อกับระบบการสร้างภาพด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์และเครื่องวินิจฉัยโรคด้วยสนามแม่เหล็ก
- อุปกรณ์กั้นรังสีสำหรับกั้นรังสีให้แก่ผู้ป่วยเพื่อป้องกันเนื้อเยื่อและอวัยวะปกติที่อยู่ข้างเคียง

การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งและเวชศาสตร์นิวเคลียร์
- เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
- เครื่องวินิจฉัยโรคด้วยสนามแม่เหล็ก 3 Tesla
- เวชศาสตร์นิวเคลียร์รวมถึงการตรวจทั่วร่างกาย
- การทำอัลตราซาวด์และการเอกซเรย์
- เครื่องเพท/ซีทีรุ่นไบโอกราฟ 64
อื่นๆ
- การถ่ายภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบ 4 มิติ ใช้สำหรับวางแผนการรักษาก้อนมะเร็งที่มีการเคลื่อนไหวตามการหายใจ
- อุปกรณ์สำหรับควบคุมการหายใจระหว่างการฉายรังสีและระหว่างการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
- เครื่องวางแผนการฉายรังสี Monaco สำหรับวางแผนการรักษาด้วยรังสีแบบสามมิติ (3D CRT) แบบแปรความเข้ม (IMRT) และ VMAT
การรักษาแบบจำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง หรือ targeted therapy
การรักษาแบบจำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง หรือ targeted therapy เป็นการรักษาโรคมะเร็งแบบออกฤทธิ์จำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง โดยให้ยาหรือสารไปยับยั้งกระบวนการส่งสัญญาณระดับซลล์ ซึ่งเป็นต้นเหตุของการเจริญเติบโตและแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง
ชนิดของมะเร็งที่สามารถรักษาด้วย TARGETED THERAPY
ในปัจจุบัน targeted therapy สามารถใช้ในการรักษาโรคมะเร็งได้หลายชนิด อาทิ
มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยและเบินสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ในผู้หญิง ส่วนในผู้ชายก็พบมะเร็งเต้านมได้เช่นกันแต่ไม่บ่อยนัก โดยประมาณ 90% ของมะเร็งเต้านมเกิด
จากต่อมน้ำนมและท่อน้ำนม จึงมีโอกาสมากที่จพบการเกิดมะเร็งในเต้านมทั้งสองข้าง ทั้งในระยะแรกและหลังจากการตรวจวินิจฉัย อย่างไรก็ดีการตรวจพบมะเร็งในระยะแรกจะช่วย
ให้การรักษามีโอกาสประสบความสำเร็จได้สูง
ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งเต้านม
- อายุ ในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 50 ปีจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
- มีประวัติการเป็นมะเร็งเต้านม โดยผู้ป่วยที่เกิดมะเร็งเต้านมขึ้นที่ข้างหนึ่งมีความเสี่ยง 3-4 เท่าในการเกิดก้อนมะเร็งขึ้นที่เต้านมอีกข้าง
- มีประวัติการเป็นมะเร็งรังไข่ เนื่องจากการเป็นมะเร็งรังไข่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสฮอร์โมน จึงเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม
- มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น
- การกลายพันธุ์ของยีน BRCA1 หรือ BRCA2 (BRCA ย่อมาจาก Breast Cancer gene) มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม และการมีประวัติมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ ในครอบครัวตั้งแต่อายุน้อย
- การสัมผัสกับฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิงที่ควบคุมการเปลี่ยนแปลงของลักษณะทางเพศ โดยพบว่าการสัมผัสกับเอสโตรเจนเป็นเวลานานจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม
- ลักษณะของการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ความอ้วน ขาดการออกกำลังกาย ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การได้รับรังสีในปริมาณสูง
อาการมะเร็งเต้านม
บางครั้งผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านมอาจไม่มีอาการของมะเร็งเต้านม หรือบางครั้งอาการผิดปกติที่เป็นอาจไม่ใช่โรคมะเร็งก็ได้ ดังนั้นจึงควรไปพบแพทย์เมื่อมีอาการดังต่อไปนี้
- มีก้อนหนาๆ ในเต้านมหรือใต้แขน
- บริเวณหัวนมบุ๋ม มีน้ำเหลือง หรือมีแผล
- เต้านมมีผื่น แดง ร้อน ผื่นคล้ายผิวส้ม
- มีอาการปวดบริเวณเต้านม
การตรวจประเมินมะเร็งเต้านมเบื้องต้น
การตรวจประเมินเบื้องต้นเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้สามารถตรวจพบมะเร็งเต้านมในระยะต้นๆ ซึ่งจะส่งผลให้การรักษามีโอกาสประสบความสำเร็จสูง โดยการตรวจประเมินมะเร็งเต้านมเบื้องต้นสามารถทำได้ดังนี้
- การคลำเต้านมด้วยตนเอง
- การตรวจด้วยวิธีแมมโมแกรม (mammogram) แนะนำให้ผู้หญิงอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไปเข้ารับการตรวจแมมโมแกรมทุก 1-2 ปี
- การตรวจด้วยอัลตราซาวนด์และการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (magnetic resonance imaging: MRI) จะใช้ในกรณีที่ผลของแมมโมแกรมตรวจพบความผิดปกติและต้องการตรวจหาเพื่อให้แน่ชัดยิ่งขึ้น
การวินิจฉัยมะเร็งเต้านม
การวินิจฉัยมะเร็งเต้านมจะทำเมื่อมีการตรวจพบก้อนผิดปกติ (ทั้งจากการตรวจเต้านมด้วยตนเองหรือการเอกซเรย์) หรือพบการมีแคลเซียมเป็นจุดที่ผิดปกติจากการตรวจเอกซเรย์ ซึ่งแพทย์จะต้องทำการตรวจว่าเป็นมะเร็งหรือไม่และมีการแพร่กระจายไปที่ใดแล้วหรือไม่ ซึ่งวิธีที่วินิจฉัยได้แม่นยำคือวิธีการนำชิ้นเนื้อออกมาตรวจ แต่หากไม่สามารถตรวจด้วยวิธีนี้ได้ แพทย์จะพิจารณาการตรวจด้วยวิธีอื่น
ทั้งนี้ การวินิจฉัยโรคแพทย์จะพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ ประกอบ เช่น อายุ การใช้ยาในปัจจุบัน ประเภทของมะเร็ง ระดับความรุนแรงของอาการ และผลการตรวจสอบก่อนหน้านี้ เป็นต้น โดยวิธีการวินิจฉัยมะเร็งเต้านมสามารถทำได้ดังนี้
การตรวจทางรังสีวิทยา
- การใช้เครื่องถ่ายภาพรังสีเต้านมเพื่อการวินิจฉัย (diagnostic mammography)
- การใช้คลื่นเสียงความถี่สูงถ่ายภาพเต้านม (ultrasound)
- การใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าถ่ายภาพเต้านม (magnetic resonance imaging: MRI)
- การเก็บชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา (biopsy)
- การตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา
- การตรวจเลือด
- การตรวจเพิ่มเติม
- การถ่ายภาพเอกซเรย์ทรวงอก
- การตรวจการลุกลามของมะเร็งไปยังกระดูก (bone scan)
- การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (computed tomography scan: CT scan) เพื่อสร้างภาพ 3 มิติของอวัยวะต่างๆ เพื่อเพิ่มความละเอียดในการตรวจหาการลุกลามของมะเร็ง
การรักษามะเร็งเต้านม
การรักษามะเร็งเต้านมอาศัยทีมแพทย์ในสาขาต่างๆ เช่น ศัลยแพทย์ รังสีแพทย์ และอายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็ง มาร่วมกันวางแผนการรักษาที่ดีที่สุดและเหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย โดยปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกวิธีการรักษาของแพทย์ เช่น
- ขนาด ตำแหน่ง และลักษณะของเซลล์มะเร็ง
- ระยะโรคและการกระจายของมะเร็ง
- อายุและสุขภาพของผู้ป่วย
- ตัวรับฮอร์โมนของมะเร็ง
- ภาวะก่อนหรือหลังหมดประจำเดือน
- ปัจจัยที่บ่งบอกความรุนแรงของเนื้องอก เช่น ยีน HER2 (human epidermal growth factor receptor 2)
ทางเลือกในการรักษามะเร็งเต้านม
- การผ่าตัด
- รังสีรักษา
- เคมีบำบัด
- การรักษาโดยใช้ฮอร์โมน
- การใช้ยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง (targeted therapy)
มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งในพศหญิงที่พบได้บ่อยที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านม(สถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ w.ศ.2553) และมีผู้หญิงไทยเสียชีวิตจากโรคนี้เฉลี่ย 14 ราย/วัน
สิ่งสำคัญที่ควรทราบเกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูก
- สตรีที่แต่งงานหรือมีเพศสัมพันธ์แล้วมีโอกาสติดเชื้อไวรัสนี้ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต แต่การติดเชื้อส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 90 จะหายไปได้เอง ภายใน 1-2 ปีโดยไม่ก่ออาการหรือโรค
- การใช้ถุงยางอนามัยช่วยป้องกันการติดเชื้อได้แต่ไม่ทั้งหมด
- การมีคู่นอนเพียงคนเดียวก็มีโอกาสติดเชื้อได้ ดังนั้นการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำจึงเป็นสิ่งสำคัญ แม้ว่าจะมีคู่นอนเพียงคนเดียว
สาหตุหลักของการเกิดมะเร็งปาคมดลูก
- เชื้อ Human Papillomavirus หรือที่เรารู้จักกันดีว่า เชื้อ HPV เป็นต้นเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งปากมดลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสายพันธุ์ชนิดก่อมะเร็ง
- ปัจจุบันพบว่าเชื้อ HPV สายพันธุ์ 16 และสายพันธุ์ 18 เป็น 2 สายพันธุ์ที่พบได้บ่อยในมะเร็งปากมดลูก ซึ่งเชื้อ HPV สายพันธุ์ 16 พบมากเป็นอันดับ 1 โดยพบได้ประมาณร้อยละ 50-55 และเชื้อ HPV สายพันธุ์ 18 พบได้มากเป็นอันดับ 2 ประมาณร้อยละ 15-20
- ข้อมูลทางการแพทย์ยังพบว่า เชื้อ HPV สายพันธุ์ 18 พบได้บ่อยที่สุดในมะเร็งปากมดลูกชนิดเซลล์ต่อม ซึ่งมีแนวโน้มที่จะพบมากขึ้น
- มะเร็งชนิดเซลล์ต่อมเป็นมะเร็งที่มีโอกาสวินิจฉัยผิดพลาดได้สูงด้วยการตรวจแปปสเมียร์เพียงอย่างเดียว
- ปัจจุบันสมาคมแพทย์ ASCCP (American Society of Colposcopy and Cervical Pathology) ในสหรัฐอเมริการับรองการใช้การตรวจหาเชื้อ HPV ร่วมกับแปปสเมียร์ เพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป ซึ่งจะช่วยเพิ่มความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น
ประโยชน์ที่ได้จากการตรวจหาเชื้อ HPV ร่วมกับกรตรวจแปปสเมียร์ ในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
- การตรวจหาเชื้อ HPV ร่วมกับการตรวจแปปสเมียร์ในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมีความสำคัญในทางคลินิกมากขึ้น เนื่องจากมีข้อมูลงานวิจัยพบว่า การตรวจควบคู่กันจะเพิ่มความแม่นยำในการตรวจหาต้นเหตุของมะเร็งปากมดลูกได้ดีขึ้น
- เพิ่มความมั่นใจมากขึ้นเกือบ 100% ถ้าตรวจไม่พบเชื้อ HPV สายพันธุ์ก่อมะเร็ง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งสายพันธุ์ 16 และสายพันธุ์ 18) และผลแปปสเมียร์ปกติด้วย โอกาสที่จะเป็นมะเร็งปากมดลูกมีน้อยมากและมั่นใจได้ว่าสามารถเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกใหม่ได้ในอีก 3 ปี
- เป็นข้อมูลให้กับแพทย์ในการประเมินความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้แม่นยำขึ้น เนื่องจากผลการตรวจระบุสายพันธุ์ของเชื้อ HPV ที่พบจะช่วยให้แพทย์วางแผนการรักษาและตรวจติดตามผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วิธีการเก็บสิ่งส่งตรวจมะเร็งปากมดลูก
การเก็บสิ่งส่งตรวจเพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก แพทย์จะใช้วัสดุหรือแปรงขนอ่อนเก็บเซลล์จากปากมดลูกไปใส่ในขวดน้ำยารักษาสภาพเซลล์ แล้วนำส่งตรวจได้ทั้งการหาเชื้อ HPV และตรวจดูเซลล์ของปากมดลูก (แปปสเมียร์) ในขั้นตอนเดียว
การวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูก
ในกรณีที่ตรวจพบความผิดปกติ ผู้หญิงจะได้รับการวินิจฉัยโดยการส่องกล้องตรวจปากมดลูก (colposcopy) ซึ่งให้ภาพขยายของปากมดลูก 10-20 เท่า แพทย์จึงเห็นการเปลี่ยนแปลงของผิวปากมดลูกได้อย่างชัดเจน เช่น มีสีขาวขึ้นเป็นฝ้า หรือมีลักษณะของหลอดเลือดเปลี่ยนไป จากนั้นแพทย์จะเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อส่วนที่ผิดปกติส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจว่าความผิดปกติดังกล่าวอยู่ในระยะก่อนมะเร็งหรือเป็นมะเร็งแล้ว เพื่อวางแผนการรักษาต่อไป
การป้องกันมะเร็งปากมดลูก
- ฉีดวัคซีน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันสำหรับต่อต้านเชื้อ HPV โดยเฉพาะสายพันธุ์ 16 และสายพันธุ์ 18 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูงทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งได้มากถึงร้อยละ 70 และยังช่วยป้องกันเชื้อไวรัส HPV อีกสองสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคหูดที่อวัยวะเพศได้ถึงร้อยละ 90 โดยแพทย์แนะนำให้ผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 9 – 26 ปี ฉีดวัคซีนก่อนมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก หรือฉีดในรายที่มีเพศสัมพันธ์แล้วแต่ยังไม่ติดเชื้อ HPV เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุด
- การตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear หรือ Pap Test) โดยแพทย์จะเก็บเซลล์จากปากมดลูกแล้วนำส่งตรวจเพื่อหาเซลล์ผิดปกติที่อาจพัฒนาไปเป็นมะเร็งได้ อย่างไรก็ตาม การตรวจแปปสเมียร์อาจมีโอกาสพลาดถึงร้อยละ 40 ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงหลายคนพบว่าตัวเองเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกแม้จะตรวจแปปสเมียร์ทุกปี
- ตรวจหาเชื้อไวรัส HPV เป็นการตรวจทางชีวโมเลกุลเพื่อหาเชื้อไวรัส HPV โดยตรง ซึ่งเป็นการตรวจที่มีความแม่นยำอย่างมากคือมีโอกาสพลาดเพียงร้อยละ 5-10 และส่วนใหญ่จะทำร่วมกับการตรวจ ThinPrep โดยแพทย์จะเก็บตัวอย่างเซลล์เพื่อส่งตรวจในคราวเดียว หากตรวจแล้วไม่พบความผิดปกติก็แสดงว่าโอกาสที่จะเป็นมะเร็งปากมดลูกมีน้อยมาก และสามารถรอได้ถึง 3 ปี กว่าจะเข้ารับการตรวจคัดกรองอีกครั้ง
การรักษามะเร็งปากมดลูก
- ระยะก่อนมะเร็ง เป็นการรักษาเฉพาะที่ เช่น จี้ทำลายเซลล์ที่ผิดปกติด้วยความเย็นหรือความร้อน การตัดปากมดลูกด้วยห่วงลวดไฟฟ้า ซึ่งส่วนใหญ่ใช้เวลาครู่เดียวและเป็นหัตถกรรมสำหรับผู้ป่วยนอก
- ระยะมะเร็งแล้ว (ระยะที่ 1 และ 2 ขั้นต้น) ผู้ป่วยจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดมะเร็งปากมดลูกนั้นต่างจากการผ่าตัดมดลูกทั่วไปนั่นคือเป็นการผ่าตัดแบบ “ถอนรากถอนโคน” หรือการผ่าตัดเอาปากมดลูก เนื้อเยื่อรอบๆ ปากมดลูก มดลูก ช่องคลอดส่วนต้นและต่อมน้ำเหลืองในบริเวณนั้นออกทั้งหมดเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีเซลล์มะเร็งหลงเหลืออยู่ การผ่าตัดนี้ทำได้ทั้งแบบเปิดหน้าท้องและผ่าตัดผ่านกล้องซึ่งต้องทำโดยแพทย์เฉพาะทางที่มีความชำนาญเท่านั้น
- ระยะ 3 และ 4 เป็นระยะที่มะเร็งลุกลามออกนอกปากมดลูกแล้ว ดังนั้น การรักษาประกอบด้วยเคมีบำบัดร่วมกับรังสีรักษาในเวลาเดียวกัน เพื่อควบคุมไม่ให้มะเร็งลุกลามไปยังอวัยวะใกล้เคียงและเนื้อเยื่อชั้นในรอบๆ มดลูก และหากมะเร็งแพร่ลามไปที่ต่อมน้ำเหลืองและกระดูกเชิงกราน จะส่งผลให้ไต กระเพาะปัสสาวะผิดปกติ ยิ่งถ้ามีการแพร่กระจายไปอวัยวะที่ไกลออกไป เช่น ตับหรือปอด อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในที่สุด
- มะเร็งตับเป็นโรคที่มีความสำคัญที่พบได้บ่อยในประชากรทั่วโลกและเบินสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้มากที่สุดโรคหนึ่ง ทั้งนี้ผู้ป่วยโรคมะเร็งตับในรยะแรกมักไม่ค่อยมีอาการแสดง
- กว่าจะได้รับการวินิจฉัยครั้งแรกก็มักอยู่ในระยะท้ายของโรคแล้ว
ชนิดของมะเร็งตับ
- มะเร็งของเซลล์ตับ (hepatocellular carcinoma) เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดทั่วโลกและพบมากที่สุดในประเทศไทย
- มะเร็งของท่อน้ำดีในตับ (cholangiocarcinoma)
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งตับ
- ภาวะตับแข็งจากทุกสาเหตุไม่ว่าจะจากแอลกอฮอล์หรือไวรัสตับอักเสบ
- การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบทั้งชนิดบีและซี
- สารพิษอะฟลาท็อกซินซึ่งปนเปื้อนอยู่ในเมล็ดพืช เช่น ถั่วลิสง ข้าวโพด พริกแห้ง
- โรคทางพันธุกรรมและเมตาบอลิกต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน ซึ่งทำให้เกิดไขมันเกาะตับและเป็นตับแข็งตามมา
- การได้รับยาหรือสารเคมีบางชนิด เช่น การได้รับฮอร์โมนเพศชายเป็นเวลานาน
อาการมะเร็งตับ
- มะเร็งตับในระยะแรกมักไม่แสดงอาการ แต่เมื่อเป็นมากขึ้นอาจมีอาการดังนี้
- ปวดท้องโดยเฉพาะบริเวณข้างขวาส่วนบน ในบางรายอาจมีอาการปวดร้าวไปที่หลังหรือไหล่
- ท้องบวมขึ้น
- น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
- เบื่ออาหาร ไม่รู้สึกอยากอาหาร
- รู้สึกอ่อนเพลีย
- มีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ
- คลำพบก้อนที่บริเวณตับ
- ตัวเหลืองและตาเหลือง
การวินิจฉัยโรคมะเร็งตับ
- การซักประวัติและการตรวจร่างกาย
- การตรวจเลือดดูการทำงานของตับ ไวรัสตับอักเสบ และสารบ่งชี้มะเร็งตับ (alpha-fetoprotein)
- การตรวจทางรังสีที่ตับและช่องท้อง เช่น การตรวจอัลตราซาวนด์ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
- การตัดชิ้นเนื้อตรวจทางพยาธิวิทยา
การรักษามะเร็งตับ
การรักษามะเร็งตับจะขึ้นกับสภาวะความรุนแรงของโรค ขนาดและลักษณะของเซลล์มะเร็ง ระยะของโรคและการแพร่กระจายของมะเร็ง รวมถึงสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย โดยแพทย์จะพิจารณาวิธีการรักษาที่ดีที่สุดและเหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย
- การผ่าตัด
- รังสีรักษา
- เคมีบำบัด
- การผ่าตัดปลูกถ่ายตับ จะทำได้ในกรณีที่ก้อนในตับมีขนาดน้อยกว่า 5 เซนติเมตร และผู้ป่วยต้องมีอายุน้อยกว่า 70 ปี
การรักษาที่ดีที่สุดสำหรับมะเร็งตับ คือ การป้องกันและตรวจคัดกรองหามะเร็งตับ เนื่องจาก 90% ของมะเร็งตับเกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี ผู้ป่วยที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีและซีจึงมีโอกาสเป็นโรคตับแข็งและมะเร็งตับสูง หากมีมะเร็งตับเกิดขึ้น มะเร็งตับจะโตขึ้นเป็น 2 เท่าภายในเวลา 3-6 เดือน ดังนั้นผู้ป่วยที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีและซีควรต้องเข้ารับการตรวจการทำงานของตับและตรวจคัดกรองมะเร็งตับโดยการเจาะเลือดหาสารบ่งชี้มะเร็งตับ (alpha-fetoprotein) และตรวจอัลตราซาวด์ตับทุก 3 เดือน
มะเร็งปอด เป็นโรคที่พบได้มากในประทศไทยและเงินสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของทั้งเพศชายและเพคหญิง อย่างไรก็ดีมะเร็งปอดสามารถรักษาให้หายได้หากตรวจพบตั้งแต่ในระยะต้น
ชนิดของมะเร็งปอด
มะเร็งปอดเกิดจากการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติอย่างรวดเร็วและไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้เกิดเป็นกลุ่มก้อนของเซลล์ที่ผิดปกติ ซึ่งจะตรวจพบได้เมื่อมีขนาดใหญ่ มีจำนวนมาก และแพร่ไปตามบริเวณต่างๆ ของร่างกาย มะเร็งปอดจะทำลายชีวิตของผู้ป่วยได้รวดเร็วแค่ไหนขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง
มะเร็งปอดแบ่งออกเป็น 2 ชนิดตามขนาดของเซลล์ ซึ่งความแตกต่างของขนาดเซลล์นี้มีความสำคัญ เนื่องจากวิธีการรักษาจะแตกต่างกัน
- มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (small cell lung cancer) พบได้ประมาณ 10-15% เซลล์จะเจริญเติบโตและแพร่กระจายได้รวดเร็วกว่ามะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว การรักษาจะไม่ใช้วิธีการผ่าตัด ส่วนมากรักษาด้วยการใช้ยาหรือฉายรังสี
- มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก (non-small cell lung cancer) พบได้บ่อยกว่ามะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (พบได้ประมาณ 85-90%) แต่แพร่กระจายได้ช้ากว่าและสามารถรักษาให้หายได้โดยการผ่าตัดหากพบตั้งแต่เนิ่นๆ
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอด
ในปัจจุบันยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่ชัดเจนที่ทำให้เกิดมะเร็งปอดได้ แต่มีปัจจัยบางประการที่อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอด เช่น
- บุหรี่ อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งปอดมากที่สุด ผู้ที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งปอดมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 10-30 เท่า เนื่องจากสารในบุหรี่สามารถทำลายเซลล์ปอด ทำให้เกิดความผิดปกติของเซลล์ โดยความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนมวนและจำนวนปีที่สูบบุหรี่
- การได้รับสารพิษและมลภาวะในสิ่งแวดล้อม เช่น ควันบุหรี่ แอสเบสตอส (asbestos) ก๊าซเรดอน (radon) สารหนู รังสี และสารเคมีอื่นๆ รวมถึงฝุ่นและไอระเหยจากนิกเกิล โครเมียม และโลหะอื่นๆ
- อายุ ความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นตามอายุ โดยทั่วไปความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นหลังอายุ 40 ปี แต่สามารถพบได้ในคนอายุน้อยกว่า 40 ปี
- มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งปอด ผู้ที่มีพ่อแม่พี่น้องเป็นโรคมะเร็งปอดมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปอดแม้ไม่ได้สูบบุหรี่
ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดควรพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการลดปัจจัยเสี่ยงและวางแผนการตรวจสุขภาพ ส่วนผู้ที่เคยได้รับการรักษามะเร็งปอดมาแล้ว ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพหลังการรักษา เนื่องจากอาจมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งปอดได้อีก
การตรวจคัดกรองมะเร็งปอด
การตรวจคัดกรองช่วยให้แพทย์สามารถตรวจพบและรักษามะเร็งได้ตั้งแต่เนิ่นๆ แต่ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการตรวจสอบมะเร็งปอดแบบง่ายหรือด้วยตนเองดังเช่นมะเร็งเต้านม อย่างไรก็ตามมีการตรวจสอบใหม่ที่เป็นการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบใช้ปริมาณรังสีต่ำ (low-dose helical computerized tomography) ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยได้
อาการของโรคมะเร็งปอด
โดยทั่วไปแล้วมะเร็งปอดในระยะเริ่มต้นมักไม่แสดงอาการ แต่เมื่อโรคลุกลามแล้ว อาจพบอาการดังต่อไปนี้
- ไอเรื้อรัง (ไอแห้งหรือไอมีเสมหะ)
- มีปัญหาการหายใจ เช่น หายใจสั้น
- หายใจมีเสียงหวีด
- เจ็บบริเวณหน้าอกตลอดเวลา
- ไอมีเลือดปน
- เสียงแหบ
- ติดเชื้อในปอดบ่อยๆ เช่น ปอดบวม
- เหนื่อยง่ายหรือรู้สึกเหนื่อยตลอดเวลา
- น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
อาการเหล่านี้อาจไม่เกี่ยวเนื่องกับมะเร็ง เนื่องจากมีหลายโรคที่อาจทำให้เกิดอาการเหล่านี้ได้ อย่างไรก็ดี ผู้ที่มีอาการดังกล่าวข้างต้นควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาโดยเร็วที่สุด
การตรวจเบื้องต้นและการวินิจฉัยมะเร็งปอด
หากมีอาการที่เข้าข่ายของโรคมะเร็งปอด แพทย์จะทำการตรวจร่างกาย ตรวจเสมหะ เอกซเรย์ปอด หากพบความผิดปกติ อาจต้องทำการตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยันการวินิจฉัย
- การตัดชิ้นเนื้อเพื่อวิเคราะห์ (biopsy)
- การใช้เข็มขนาดเล็กตัดชิ้นเนื้อ (fine-needle aspiration) แพทย์จะใช้เข็มขนาดเล็กเจาะที่ช่องอกไปยังปอด และดูดตัวอย่างของเหลวเนื้อเยื่อที่สงสัยเพื่อนำมาวิเคราะห์ โดยทั่วไปมักทำพร้อมกับการเอกซเรย์หรือการทำ computed tomography (CT) scan เพื่อหาตำแหน่งที่ถูกต้องของเนื้อเยื่อที่ต้องการตรวจสอบ
- การส่องกล้องตรวจภายในหลอดลม (bronchoscopy) แพทย์จะทำการสอดท่อขนาดเล็กที่มีไฟผ่านทางจมูกหรือปากเข้าไปสู่ปอด โดยท่อนี้สามารถดูดของเหลวหรือตัดชิ้นเนื้อเยื่อที่สงสัยออกมาตรวจวิเคราะห์อย่างละเอียด
- การใช้เข็มเจาะช่องเยื่อหุ้มปอดแทงผ่านผนังทรวงอก (thoracentesis) แพทย์จะใช้เข็มเจาะที่ช่องอกบริเวณระหว่างปอดและผนังของช่องอก เพื่อทำการเก็บของเหลวบริเวณดังกล่าวมาตรวจหาเซลล์มะเร็ง
- การตรวจช่องกลางทรวงอกโดยการส่องกล้อง (mediastinoscopy) แพทย์จะทำการผ่าตัดบริเวณส่วนบนของกระดูกอก จากนั้นสอดกล้องเข้าไปภายในช่องทรวงอก และนำตัวอย่างเนื้อเยื่อหรือต่อมน้ำเหลืองออกมาตรวจ
- การตรวจช่องทรวงอกโดยการส่องกล้อง (thorocoscopy) แพทย์จะใช้กล้องใส่เข้าทางผนังทรวงอกเพื่อตัดก้อนเนื้อจากปอดไปตรวจ
- การตรวจวินิจฉัยด้วยรังสี
- การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (computed tomography scan หรือ CT scan) และการตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (magnetic resonance imaging: MRI) เป็นวิธีที่ช่วยให้แพทย์หาตำแหน่งและขนาดของก้อนเนื้อที่ผิดปกติในบริเวณปอดได้
- การตรวจด้วยเครื่อง positron emission tomography (PET) scan เป็นการฉีดโมเลกุลของสารกัมมันตภาพรังสีที่รวมกับน้ำตาลเข้าทางเส้นเลือด เซลล์มะเร็งปอดจะดูดซึมเอาน้ำตาลชนิดนี้ไว้อย่างรวดเร็วและมากกว่าเซลล์ปกติ ทำให้เกิดความแตกต่างของการเรืองแสงเฉพาะเซลล์มะเร็ง
- การตรวจยีนกลายพันธุ์ของมะเร็งจากชิ้นเนื้อ/เลือด หากมียีนกลายพันธุ์ที่สามารถรักษาด้วยการใช้ยารักษาแบบเฉพาะเจาะจงยีนจะทำให้กำจัดเซลล์มะเร็งได้ตรงจุด
ระยะของมะเร็งปอด
ระยะของมะเร็งกำหนดจากตำแหน่งของเซลล์มะเร็ง การแพร่กระจายของมะเร็ง และการทำงานที่ผิดปกติของอวัยวะร่างกาย ระยะของมะเร็งมีความสำคัญต่อการรักษา เพราะช่วยให้แพทย์หาวิธีการรักษาที่เหมาะสม ส่งผลต่อการหายของโรคหรือการมีชีวิตที่ยืนยาวหรือดำรงชีวิตได้ดีขึ้น
- ระยะของมะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่
- ระยะจำกัดของขนาดมะเร็ง (limited stage) เป็นระยะที่มะเร็งจะอยู่ในบริเวณปอดเท่านั้น
- ระยะการแพร่กระจาย (extensive stage) เป็นระยะที่มะเร็งได้แพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย
- ระยะของมะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก แบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่
ระยะที่ 1 พบมะเร็งเฉพาะที่บริเวณปอดเท่านั้น ไม่พบในต่อมน้ำเหลือง และยังไม่มีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง
ระยะที่ 2
– ระยะที่ 2A มะเร็งมีขนาดเล็กและพบแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่ขั้วปอด
– ระยะที่ 2B มะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้นเล็กน้อยและแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่ขั้วปอด หรือ เซลล์มะเร็งมีการแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่น เช่น ที่ผนังทรวงอก
ระยะที่ 3
– ระยะที่ 3A เซลล์มะเร็งมีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองในบริเวณอื่นที่ห่างจากปอด หรือพบมะเร็งในต่อมน้ำเหลืองรอบๆ ปอด และเซลล์มะเร็งได้แพร่กระจายไปยังผนังทรวงอกหรือบริเวณกลางช่องอก
– ระยะที่ 3B เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองอีกด้านของช่องอกหรือต่อมน้ำเหลืองเหนือกระดูกไหปลาร้า หรือมีเนื้องอกมากกว่า 1 ก้อนในปอด หรือเนื้องอกเจริญเติบโตในอีกด้านของช่องอก เช่น หัวใจ หลอดอาหาร หรือมีของเหลวที่มีเซลล์มะเร็งอยู่รอบๆ ปอด
ระยะที่ 4 มะเร็งได้กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย เช่น ตับ กระดูก สมอง
การรักษามะเร็งปอด
สิ่งสำคัญของการรักษามะเร็งปอด คือ การพิจารณาตำแหน่ง ขนาด และระยะของเซลล์มะเร็ง รวมถึงสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย
- การผ่าตัด
- มีเป้าหมายเพื่อผ่าเอาก้อนมะเร็งที่ปอดและต่อมน้ำเหลืองที่ช่องอกออกให้หมด ซึ่งบางครั้งก้อนเนื้อนั้นอาจไม่ใช่เซลล์มะเร็งทั้งหมดก็ได้
- โดยทั่วไปไม่ใช้ในการรักษามะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็กซึ่งมักมีการแพร่กระจายตัวของเซลล์มะเร็งอย่างรวดเร็ว
- วิธีนี้ใช้ในการรักษามะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก ในระยะที่ 1, 2 และ 3A
- การฉายรังสี (radiotherapy)
- เป็นการใช้พลังงานรังสีที่มีความเข้มข้นฉายไปยังตำแหน่งของเซลล์มะเร็งเพื่อทำลายกลุ่มก้อนเซลล์มะเร็งนั้น
- วิธีนี้ใช้ไม่ได้ผลกับระยะมะเร็งที่มีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนต่างๆ แต่อาจใช้เฉพาะจุดเพื่อควบคุมการลุกลาม
- การฉายรังสีใช้เวลาไม่นานและไม่ทำให้เจ็บปวด แต่อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น กลืนลำบาก อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ระคายเคืองผิวหนังบริเวณที่ฉายรังสี
- การใช้ยาภูมิคุ้มกันบำบัด (immunotherapy) เพื่อให้ภูมิคุ้มกัน ระบบการทำงานของภูมิคุ้มกัน การตรวจจับและการทำลายเซลล์มะเร็งมีประสิทธิภาพ
- การให้ยาเคมีบำบัด (chemotherapy) เป็นการใช้ยากำจัดและยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งที่มีอยู่ทั่วร่างกาย โดยทั่วไปยาเคมีบำบัดที่ใช้กับมะเร็งปอดเป็นรูปแบบยาฉีดเข้าเส้นเลือด
- การรักษาแบบเฉพาะเจาะจง (targeted therapy) เป็นการรักษาโดยการใช้ยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง โดยไม่ส่งผลต่อเซลล์ปกติ ให้ประสิทธิผลในการรักษาและไม่ทำให้เกิดอาการข้างเคียงเหมือนเช่นยาเคมีบำบัด
- การรักษาด้วยการผสมผสาน โดยทั่วไปการรักษามะเร็งจะใช้มากกว่าหนึ่งวิธีขึ้นไป ผู้ป่วยควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาและผลข้างเคียงของแต่ละวิธี เพื่อให้ความร่วมมือในการรักษาให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด
การดูแลตนเองภายหลังการรักษา
- หากยังสูบบุหรี่อยู่ ควรหยุดทันที
- เมื่อผู้ป่วยเริ่มมีอาการดีขึ้น ควรออกกำลังกายด้วยการเดินอย่างน้อยวันละ 15-30 นาที เพื่อส่งเสริมการทำงานของปอดและหัวใจให้ดีขึ้น
- พบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำและป้องกันการเกิดมะเร็งที่อวัยวะอื่น
มะเร็งสำไส้ใหญ่ เป็นโรคที่ซลล์ปกติในลำไส้ใหญ่มีการเปลี่ยนแปลง โดยมีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนอย่างไม่หยุดยั้งจนควบคุมไม่ได้ การเปลี่ยนแปลงนี้อาจใช้เวลาเซ็นปี ในระยะแรกๆ เซลล์
อาจเป็นเพียงแค่เนื้องอกธรรมดา แต่หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ทำการรักษาหรือตัดทิ้ง เนื้องอกนี้อาจลุกลามกลายเป็นมะเร็งได้
ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ใหญ่
แม้ว่าสาเหตุของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่จะยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีบางปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งชนิดนี้ เช่น
- มีประวัติเนื้องอก ซึ่งปกติจะพบที่ผนังลำไส้ใหญ่และไม่ใช่เนื้อร้าย แต่หากเวลาผ่านไป เนื้องอกบางชนิดอาจกลายเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
- อายุ โดยส่วนใหญ่พบว่ากว่า 90% มักเกิดกับคนที่อายุมากกว่า 50 ขึ้นไป แต่ก็อาจพบได้ในวัยหนุ่มสาวและวัยรุ่น
- มีประวัติของโรค IBD (inflammatory bowel disease) คือ โรค ulcerative colitis และ Crohn’s disease ซึ่งอาจกลายเป็นลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังและเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มากขึ้น
- มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยเฉพาะครอบครัวที่มีสมาชิกเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ก่อนอายุ 60 ปีมีความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่เพิ่มขึ้น
- การไม่ออกกำลังกายและความอ้วน อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่มากขึ้น
- การสูบบุหรี่ จากการศึกษาพบว่าผู้ที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่มากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่
อาการมะเร็งสำไส้ใหญ่
ในบางครั้งมะเร็งลำไส้ใหญ่อาจไม่มีอาการผิดปกติบ่งชี้ ทำให้ผู้ป่วยไม่ทราบว่าตนเองป่วยเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือบางครั้งอาการที่พบอาจคล้ายกับอาการของโรคอื่น ดังนั้นจึงควรไปพบแพทย์เมื่อมีอาการดังต่อไปนี้
- ท้องเสีย ท้องผูก หรือรู้สึกท้องอืด
- อุจจาระปนเลือดสดๆ หรือเลือดสีคล้ำมาก
- ลักษณะอุจจาระเรียวยาวกว่าปกติ
- ไม่สบายท้อง รวมทั้งปวดแสบร้อน อาหารไม่ย่อย และปวดเกร็ง
- น้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
- อ่อนเพลียหรืออ่อนแรง
- โลหิตจาง
การตรวจประเมินเบื้องต้น
การตรวจประเมินเบื้องต้นเป็นวิธีการที่สามารถช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และสามารถแยกเนื้องอกที่กำลังจะกลายเป็นมะเร็งได้ แนะนำให้เริ่มตรวจประเมินเบื้องต้นทั้งผู้ชายและผู้หญิงเมื่ออายุ 50 ปี โดยวิธีการตรวจประเมินเบื้องต้นทำได้ดังนี้
- การตรวจหาเลือดในอุจจาระ (fecal occult blood test: FOBT) สามารถตรวจได้ว่ามีเนื้องอกหรือเป็นมะเร็งหรือไม่ การตรวจด้วยวิธีนี้เป็นประจำทุกปีจะช่วยลดการเสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ และลดลงได้ 18% ในกรณีที่ตรวจปีเว้นปี
- การตรวจโดยใช้เครื่องมือซิกมอยด์โดสโคป (sigmoidoscope) ซึ่งมีลักษณะเป็นท่อสอดผ่านเข้าไปทางปลายทวารหนักสู่ลำไส้ใหญ่ส่วนล่าง เพื่อตรวจเนื้องอก มะเร็ง และสิ่งผิดปกติต่างๆ วิธีนี้แพทย์สามารถตัดชิ้นเนื้อที่ผิดปกติไปตรวจสอบได้
- การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (colonoscopy) วิธีนี้จะช่วยให้เห็นภาพภายในลำไส้ใหญ่ทั้งหมดและสามารถเก็บชิ้นเนื้อที่สงสัยส่งตรวจทางพยาธิวิทยาได้
- การใช้สารทึบแสงแบเรียมร่วมกับการถ่ายภาพด้วยรังสีเอกซเรย์ computed (CT) scan (double contrast barium enema: DCBE) จะใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถทนการตรวจด้วยวิธีส่องกล้องได้
การวินิจฉัยมะเร็งลำไส้ใหญ่
การวินิจฉัยโรคแพทย์จะใช้วิธีตรวจหลายๆ วิธีเพื่อวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งหรือไม่และมีการแพร่กระจายไปที่ใดแล้วหรือไม่ โดยแพทย์จะพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ ประกอบ เช่น อายุและสุขภาพ ประเภทของมะเร็ง ระดับความรุนแรงของอาการ และผลการตรวจสอบก่อนหน้านี้ เป็นต้น โดยวิธีการวินิจฉัยมะเร็งลำไส้ใหญ่สามารถทำได้ดังนี้
- การตัดชิ้นเนื้อ (biopsy) เป็นวิธีการวินิจฉัยมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่แม่นยำที่สุด และเพื่อการตรวจทางชีวโมเลกุลของมะเร็ง
- การตรวจเลือด โดยการตรวจนับปริมาณเม็ดเลือดแดง หรือวัดระดับโปรตีน CEA (carcinoembryonic antigen)
- การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (computed tomography scan หรือ CT scan) สามารถใช้ในการตรวจสอบตำแหน่งของโรคและการกระจายไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายได้
- การตรวจอัลตราซาวด์ เป็นการตรวจด้วยคลื่นความถี่สูง วิธีนี้จะบอกได้ว่ามะเร็งได้แพร่กระจายสู่ตับหรืออวัยวะอื่นๆ หรือไม่
- การเอกซเรย์ปอด เป็นการตรวจดูว่ามะเร็งได้แพร่กระจายไปยังปอดหรือไม่
- Positron emission tomography (PET) scan เป็นการตรวจโดยการฉีดสารรังสีให้ถูกดูดซึมในอวัยวะและเนื้อเยื่อ และทำการถ่ายภาพ ทำให้สามารถตรวจได้ทั้งร่างกาย
การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่
การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่จะอาศัยทีมแพทย์ในสาขาต่างๆ เช่น ศัลยแพทย์ รังสีแพทย์ และอายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็ง มาร่วมกันวางแผนการรักษาที่ดีที่สุดและเหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย โดยปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกวิธีการรักษาของแพทย์ เช่น
- ขนาด ตำแหน่ง และลักษณะของเซลล์มะเร็ง
- ระยะโรคและการกระจายของมะเร็ง
- สุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย
ทางเลือกในการรักษามะเร็งสำไส้ใหญ่
- การผ่าตัด
- รังสีรักษา
- เคมีบำบัด
- การใช้ยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง (targeted therapy)
- การรักษาโดยการยับยั้งกระบวนการสร้างเส้นเลือดใหม่ (angiogenesis)
- ภูมิคุ้มกันบำบัด
ประเภทของยาในกลุ่ม TARGETED THERAPY
ยาในกลุ่ม targeted therapy แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่
- Monoclonal antibodies ส่วนใหญ่จะออกฤทธิ์โดยจับกับเป้าหมายที่อยู่ภายนอกเซลล์หรือบนผิวเซลล์แล้วจึงทำลายเซลล์มะเร็ง หรือทำให้เซลล์มะเร็งไม่สามารถแบ่งตัวหรือเจริญเติบโตได้ บางครั้งก็มีการนำสารกัมมันตภาพรังสีผูกติดกับ monoclonal antibodies เพื่อให้เกิดการทำลายเซลล์มะเร็งได้มากขึ้น ทั้งนี้ยา monoclonal antibodies มักอยู่ในรูปแบบของยาฉีด
- Small molecules เป็นยาที่มีโมเลกุลเล็ก สามารถผ่านเข้าสู่เยื่อหุ้มเซลล์ จึงสามารถจับกับเป้าหมายทั้งที่อยู่ภายในเซลล์และบนผิวเซลล์ได้ โดยส่วนใหญ่ยาประเภท small molecules จะอยู่ในรูปแบบของยารับประทาน
ทั้งนี้ กลไกการออกฤทธิ์ของยาจะแตกต่างกันไป ขึ้นกับกระบวนการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งชนิดนั้นๆ
เป้าหมายของการรักษามะเร็งแบบ TARGETED THERAPY
การรักษามะเร็งด้วยวิธี targeted therapy ไม่ว่าจะเป็นการรักษาเดี่ยวหรือการรักษาร่วมกับเคมีบำบัดหรือรังสีรักษา เป้าหมายของการรักษาจะขึ้นอยู่กับชนิดและระยะของมะเร็ง ดังนี้
- รักษาโรคมะเร็งให้หายขาด
- ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
- ทำลายเซลล์มะเร็งที่สามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย
- บรรเทาอาการต่างๆ ที่มีสาเหตุจากมะเร็ง
แนวทางการรักษามะเร็งแบบ targeted therapy
เนื่องจากการใช้ targeted therapy ในการรักษาโรคมะเร็งบางชนิด ผู้ป่วยจำเป็นต้องมีตัวรับหรือเป้าหมาย (target) ที่ตอบสนองต่อยา ก่อนเข้ารับการรักษา แพทย์จะต้องทำการตรวจผู้ป่วยก่อนว่ามียีนหรือตัวรับที่สามารถใช้รักษาด้วย targeted therapy ได้หรือไม่ระยะเวลาของการรักษา
ระยะเวลาและความถี่ของการรักษาด้วย targeted therapy ขึ้นกับชนิดของมะเร็ง เป้าหมายของการรักษา ยาที่ใช้ และการตอบสนองต่อยาของผู้ป่วย ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาถึงแผนการรักษาที่เหมาะสมให้กับผู้ป่วยแต่ละราย
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
แม้ว่าการรักษามะเร็งแบบ targeted therapy จะมีผลข้างเคียงน้อยกว่าการให้เคมีบำบัด แต่ก็ยังมีผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งผลข้างเคียงอาจแตกต่างกันไปตามชนิดและขนาดของ targeted therapy ที่ได้รับ โดยส่วนใหญ่ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น
- อาการทางผิวหนัง เช่น ผิวหนังอักเสบ มีผื่นที่ผิวหนัง
- ท้องเสีย
- ผลต่อหัวใจ
- ผลต่อตับ
- ผลต่อไต
- ความดันโลหิตสูง
ดังนั้น เมื่อได้รับการรักษาแบบ targeted therapy ผู้ป่วยจึงควรสอบถามถึงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นอย่างละเอียด และควรพบแพทย์ทันทีหากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น
การติดตามผล
ผู้ป่วยควรพบแพทย์ตามนัด เพื่อติดตามผลการรักษา ทั้งการตอบสนองต่อยาและความปลอดภัยของการใช้ยา
การรักษาด้วยเคมีบำบัด
การรักษาด้วยเคมีบำบัด หมายถึง การให้ยซึ่งมีฤทธิ์ทำลายหรือหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์เนื้อร้าย บางครั้งอาจมีผลทำให้เซลล์ปกติของร่างกายถูกทำลาย ส่งผลให้เกิดอาการข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปากอักเสบ เชื่ออาหาร ภูมิต้านทานต่ำ ท้องเสีย ผมร่วง ซึ่งอาการเหล่านี้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของยา สภาว:ความแข็งแรงของร่างกาย รวมถึงความพร้อมทางด้านจิตใจของผู้ป่วย
วิธีการให้เคมีบำบัดแบ่งเป็น 2 วิธี
ยาเคมีบำบัดสามารถบริหารเข้าสู่ร่างกายของผู้ป่วยได้หลายวิธี ได้แก่
- เคมีบำบัดชนิดรับประทาน
- เคมีบำบัดชนิดฉีดเข้าเส้นเลือด
ระยะเวลาในการรักษาด้วยเคมีบำบัด
ระยะเวลาในการรักษาด้วยเคมีบำบัดขึ้นอยู่กับชนิดของโรค ระยะของโรค และการตอบสนองต่อยา โดยปกติยาเคมีบำบัดจะให้เป็นชุด ใช้เวลา 1-5 วันต่อชุด แต่ละชุดห่างกัน 3-4 สัปดาห์ ซึ่งผู้ป่วยอาจได้รับเคมีบำบัดเฉลี่ย 6-8 ชุด (ขึ้นกับแผนการรักษาของแพทย์) โดยผู้ป่วยควรมารับยาตามนัดทุกครั้งเพื่อผลการรักษาที่ดี
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับเคมีบำบัด
- ด้านร่างกาย
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
- พักผ่อนให้เพียงพอและเพิ่มการนอนพักในช่วงกลางวันอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมงต่อวัน
- หากมีโรคประจำตัว เช่น หัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือโรคที่ต้องรับประทานยาเป็นประจำ ต้องแจ้งให้แพทย์ผู้รักษาทราบ
- ด้านจิตใจ
- ควรทำอารมณ์และจิตใจให้พร้อมรับการรักษา
- ลดความกลัวและความวิตกกังวลลง
- มั่นใจในวิทยาการสมัยใหม่ ซึ่งสามารถลดอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้
- ถ้าท่านรู้สึกไม่สบายใจเกี่ยวกับโรค การรักษา การดูแลตนเอง ควรปรึกษาแพทย์และพยาบาล
การดูแลตนเองขณะรับเคมีบำบัด
- สังเกตผิวหนังบริเวณที่ฉีดยา ถ้ารู้สึกปวด บวม แดง หรือสงสัยมียารั่วซึมออกนอกหลอดเลือด ต้องแจ้งพยาบาลทันที
- ดื่มน้ำมากๆ เพื่อช่วยขับสารเคมีที่อาจตกค้างในร่างกายออกทางปัสสาวะ
- ถ้ามีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ให้แจ้งพยาบาลทันที
การปฏิบัติตนเมื่อเกิดอาการข้างเคียงขณะและหลังรับยาเคมีบำบัด
- เบื่ออาหาร
- รับประทานอาหารทีละน้อยๆ แต่แบ่งเป็นหลายๆ มื้อ
- ดูแลความสะอาดของช่องปากและฟัน
- ควรออกกำลังกายเบาๆ ก่อนมื้ออาหาร 5-10 นาที
- ท้องเสีย
- งดอาหารประเภทหมักดอง
- รับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย ไม่มีกาก
- ดื่มน้ำเกลือแร่เสริม
- ถ้าอาการไม่ทุเลากรุณาแจ้งให้พยาบาลทราบเพื่อดำเนินการแก้ไข
- อ่อนเพลีย ภาวะซีด
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น แป้ง เนื้อสัตว์ นม ไข่ ผัก ผลไม้
- พักผ่อนให้เพียงพอ เพิ่มการนอนพักกลางวัน วันละ 1-2 ชั่วโมง
- เยื่อบุช่องปากอักเสบ
- รักษาความสะอาดในช่องปาก แปรงฟันด้วยแปรงสีฟันขนนุ่มๆ บ้วนปากด้วยน้ำหรือน้ำเกลือบ่อยๆ และหลังรับประทานอาหาร
- รับประทานอาหารอ่อนและดื่มน้ำมากๆ หลีกเลี่ยงอาหารร้อนจัด รสจัด
- งดบุหรี่ เหล้า
- ภูมิต้านทานต่ำ ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
- ดูแลรักษาความสะอาดทั่วไป
- หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ชุมชน เช่น โรงภาพยนตร์ ศูนย์การค้า
- หลีกเลี่ยงกับการใกล้ชิดกับบุคคลที่เป็นโรคติดต่อ เช่น ไข้หวัด วัณโรค
- รับประทานอาหารที่สุก สะอาด งดผักสด
- สังเกตการติดเชื้อ เช่น มีไข้สูง เจ็บคอ ปัสสาวะแสบขัด หากมีอาการให้แจ้งแพทย์หรือพยาบาลทราบ
- ผมร่วง เคมีบำบัดบางชนิดทำให้ผมร่วงหมดศีรษะ แนะนำให้ซื้อวิกผมมาใส่ช่วงที่ได้รับยาเคมีบำบัด เมื่อจบการรักษาผมจะงอกขึ้นมาเป็นปกติ
โปรดระลึกไว้เสมอว่า อาการข้างเคียงเหล่านี้อาจเกิดขึ้นหรือไม่ก็ได้ ถ้าเกิดขึ้นจะเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อหยุดการรักษาอาการต่างๆ ก็จะหายไปการปฏิบัติตนเมื่อกลับบ้าน
- ท่านควรปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปอีกประมาณ 1 เดือนเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
- กรณีมีอาการผิดปกติ เช่น มีไข้สูง คลื่นไส้ อาเจียนมาก ท้องเสียรุนแรง มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง หรือมีเลือดออกจากอวัยวะต่างๆ ก่อนถึงวันนัดครั้งต่อไปให้ติดต่อเพื่อนัดพบแพทย์ก่อนวันนัดเดิม
- กรณีไม่มีอาการผิดปกติควรมาตรวจสม่ำเสมอตามวันนัด
การฉายรังสี
การฉายรังสี หรือที่มักจะเรียกกันว่าการฉายแสง เป็นประเภทหนึ่งของรังสีรักษา (radiotherapy) ที่ใช้สำหรับบำบัดรักษาโรคมะเร็ง โดยใช้รังสีพลังงานสูงฉายไปตำแหน่งของเซลล์มะเร็งเพื่อทำลายกลุ่มก้อนเซลล์มะเร็งนั้น ทั้งนี้การรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีการฉายรังสีจะขึ้นกับระยะของโรคมะเร็ง ชนิดของโรคมะเร็ง และสุขภาพของผู้ป่วยเอง
การรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีการฉายรังสีตามตำแหน่งของเซลล์มะเร็งมีดังนี้
- บริเวณศีรษะและลำคอ ได้แก่ มะเร็งสมอง มะเร็งในโพรงจมูกและไซนัส มะเร็งหลังโพรงจมูก มะเร็งในช่องปาก มะเร็งในลำคอ มะเร็งกล่องเสียง มะเร็งต่อมน้ำลายและไทรอยด์
- บริเวณทรวงอก ได้แก่ มะเร็งปอด มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งระบบน้ำเหลือง มะเร็งเต้านม
- บริเวณช่องท้อง ได้แก่ มะเร็งที่กระเพาะอาหาร มะเร็งตับ มะเร็งตับอ่อน มะเร็งไต และมะเร็งระบบน้ำเหลืองในช่องท้อง
- บริเวณท้องน้อย ได้แก่ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งมดลูก มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งต่อมลูกหมาก
การติดตามผลการรักษา
ระหว่างการฉายรังสี รังสีแพทย์จะตรวจประเมินผลการรักษา และดูแลบรรเทาอาการผลข้างเคียงจากการฉายรังสีประมาณสัปดาห์ละครั้ง แต่หากมีอาการผิดปกติก็สามารถเข้าปรึกษาแพทย์ได้ทันที นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจต้องได้รับการตรวจความสมบูรณ์ของเลือด สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการข้างเคียงจากการฉายรังสีมาก บางรายอาจต้องหยุดพัก หรือเข้ารับการดูแลรักษาในโรงพยาบาล หรือได้รับยาเพื่อลดอาการตามแต่แพทย์เห็นสมควร
หลังครบการฉายรังสี ผู้ป่วยยังคงต้องปฏิบัติตัวเช่นเดียวกับช่วงฉายรังสีต่อ 2-3 สัปดาห์ แพทย์จะนัดให้มาตรวจประเมินผลการรักษาประมาณ 2-4 สัปดาห์หลังฉายรังสีเสร็จ จากนั้นนัดตรวจทุก 1-3 เดือนแล้วแต่ชนิดและขั้นตอนการรักษาของโรค การติดตามผลการรักษาจะห่างขึ้นเป็น 4-6 เดือนจนกระทั่ง 5 ปี ถ้าผู้ป่วยปกติไม่มีอาการของโรค ควรติดตามห่างขึ้นเป็นปีละครั้งตลอดไป
มะเร็ง…รู้ไว รักษาไวตั้งแต่ระยะเริ่มต้น มีโอกาสหายได้
ต้องการปรึกษาปัญหามะเร็ง แอดมาคุยได้นะคะ
‘เส้นเลือดหัวใจตีบ’ โรคที่ไม่ควรมองข้าม
โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ โรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน เกิดจาก กา…
“ดื่มน้ำ” ตามความต้องการของร่างกาย สุขภาพดี สร้างได้ด้วยตัวเรา
“ดื่มน้ำ” ตามความต้องการของร่างกาย สุขภาพดี…
ทำความรู้จัก โรคที่เกิดจากพฤติกรรม หรือกลุ่มโรคไม่ติดต่อ (NCDs)
ทำจนเคยชิน อาจจะทำให้เป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อ (NCDs) โรค N…
MFM ดูแลครรภ์คุณแม่ตั้งแต่วันแรกจนเจ้าตัวเล็กคลอด
MFM ดูแลครรภ์คุณแม่ตั้งแต่วันแรกจนเจ้าตัวเล็กคลอด ̶…
การรักษาภูมิแพ้ ด้วยวิธีทางภูมิคุ้มกันวิทยา (Immunotherapy)
การรักษาภูมิแพ้ ด้วยวิธีทางภูมิคุ้มกันวิทยา (Immunother…
โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endomeriosis)
โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endomeriosis) สาเหตุ เก…
ไวรัส HPV วายร้ายตัวจิ๋ว ถ้าไม่ป้องกันก็ติดได้
ไวรัส “HPV” ไวรัสตัวจิ๋ว ถ้าไม่ป้องกันก็ติด…
อาการเสี่ยง คุณอาจเผชิญกับภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ
ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ PCOS (Polycystic ovary syndrome)…
ตรวจสุขภาพตับง่ายๆ กับ “ไฟโบรสแกน” (FibroScan)
ตรวจตับง่ายๆ ด้วย “ไฟโบรสแกน (Fibro Scan)” …
ผู้ถือบัตร KTC รับแพ็กเกจวัคซีนราคาพิเศษ + แลกรับเครดิตเงินคืน 300 บ.
แพ็กเกจวัคซีน ราคาพิเศษ หรือแลกรับเงินคืน 300 บาท สิทธิ…
โปรโมชั่นตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
โปรโมชั่นตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ดาวน์โหลด : โปรโมชั่…
โปรโมชั่น โปรแกรมตรวจสุขภาพ Fit to You
โปรแกรมตรวจสุขภาพ Fit to You โรงพยาบาลพิษณุเวช มอบโปรแก…