Header

PRINC ดัน 'พิษณุเวช' ขึ้น Hub การแพทย์ในภาคเหนือ รักษาโรคยากซับซ้อน แย้มขยายรพ.เพิ่ม เสริมหุ่นยนต์ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเป็นแห่งแรกในพื้นที่

18 กุมภาพันธ์ 2566

งานครบรอบ 41 ปี โรงพยาบาลพิษณุเวช เพื่อชุมชน สุขภาพดี

โอกาสนี้ได้รับเกียรติจาก ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ประธานสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา (IFD) นักวิชาการอาวุโสมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา กรรมการวิชาการ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประธานสถาบันการสร้างชาติ กล่าวปาฐกถา ในหัวข้อ “การเตรียมความพร้อมในเศรษฐกิจ การลงทุน ในยุค Wellness สร้างชาติ” ระบุ ยุคนี้ เป็นยุคที่ต้องเร่งผลักดัน Wellness ในการสร้างชาติให้ทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลงโลก พร้อมผลักดันเวทีการประกวดนางงาม Miss Wellness World เพื่อผลักดันกระแส S-Curve ด้าน Wellness ในระดับนานาชาติ รวมทั้งการประชุมนานาชาติด้าน Wellness ดึงนักวิจัยต่างชาติและไทยร่วมศึกษาด้านอายุยืนในกลุ่มคนชราที่อายุเกิน 100 ปีในพื้นที่สุวรรณภูมิแห่งสุขสภาพ หรือ Blue Zone แห่งที่ 6 ของโลกที่นอกจากอายุยืน สุขภาพดีและยังมีความสุข เพื่อร่วมผลักดันเมืองไทยเป็นเมืองหลวงด้านสุขสภาพ (Wellness Capital)

ขณะเดียวกันมองว่าในแทบทุกกลุ่มอุตสาหกรรมในประเทศไทย เช่น ขนส่ง โรงแรม ฯลฯ สามารถเกาะกระแส Wellness ที่เดิมมองแบบแยกส่วน มาสู่ปัจจุบันที่มองแบบองค์รวม ไม่ใช่เพียงการรักษาโรคใดโรคหนึ่งเท่านั้น และยังสอดคล้องกับจุดแข็งของประเทศไทยโดยเฉพาะด้านการแพทย์ที่ก้าวหน้า อาหารไทยที่หลากหลาย สมุนไพรไทย กีฬามวยไทย ค่าครองชีพที่ไม่สูง ราคาค่าบริการที่แข่งขันได้เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ฯลฯ

“ประเทศไทยสามารถก้าวกระโดดด้วยการ Jump Start Thailand ด้วยการใช้ Wellness ดึงดูดคนทำงานที่ประสงค์มาเกษียณที่ไทยเพื่อร่วมพัฒนาและสร้างชาติไปด้วยกัน”, ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ กล่าว

ด้านน.พ.กฤตวิทย์ เลิศอุตสาหกูล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท พริ้นซิเพิล แคปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ PRINC กล่าวว่า กลุ่มโรงพยาบาลพิษณุเวชในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ ถือเป็นกลุ่มโรงพยาบาลเรือธงของเครือฯในภาคเหนือ ที่มีเครือข่ายที่เข้มแข็ง ครอบคลุมจังหวัดพิษณุโลก อุตรดิตถ์และพิจิตร มีศักยภาพทางการแพทย์เฉพาะทางในการรักษาโรคซับซ้อน ทั้งทางสมอง หัวใจ มะเร็งและโรคอื่นๆ เป็นกำลังสำคัญในการร่วมดูแลรักษาผู้ป่วยในพื้นที่ภาคเหนือ ในโอกาสครบรอบ 41 ปีของกลุ่มพิษณุเวช และเข้าสู่ปีที่ 6 ที่ร่วมงานในฐานะโรงพยาบาลในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ที่มีรวมกันกว่า 13 แห่งใน 11 จังหวัด โดยยังคงมุ่งเน้นการขยายของพยาบาลให้ได้รวม 20 ในเร็วๆนี้

“ผมเชื่อมั่นว่า ก้าวถัดไปของกลุ่มโรงพยาบาลพิษณุเวช มีศักยภาพในการก้าวขึ้นเป็นอันดับ 1 โรงพยาบาลเอกชนชั้นนำในพื้นที่ภาคเหนือ จากปัจจุบันที่มีศักยภาพในการรักษาโรคที่ซับซ้อนมีความพร้อมด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ครอบคลุมพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง พร้อมมุ่งเน้นการเติบโตอย่างยั่งยืน 3P ได้แก่ People Planet Profit มีผลการดำเนินงานที่มุ่งเน้นไปที่การตอบแทนให้ชุมชน ด้วยการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี และมุ่งขยายบริการทางสาธารณสุขให้ทั้วถึง และพัฒนาด้านการแพทย์ต่อเนื่อง รองรับสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางสาธารณสุขในปัจจุบัน”, นพ.กฤตวิทย์ กล่าว

ขณะที่นพ.สมคิด อุดมกิจมงคล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพิษณุเวช กล่าวถึงความก้าวหน้าทางการแพทย์ ตลอดระยะเวลา 41 ปีที่ผ่านมา ระบุโรงพยาบาลพิษณุเวชถือเป็นโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำในภาคเหนือที่พร้อมด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์เฉพาะทางขั้นสูงในการดูแลรักษาผู้ป่วยเฉพาะทาง เช่น ศูนย์หัวใจ รวบรวมแพทย์เฉพาะทางและมีประสบการณ์สูง และมีความพร้อมด้านเครื่องมือและห้องปฏิบัติการ มีการฉีดสีสวนหัวใจ หรือ Cath Lab, ศูนย์เฉพาะทางโรคประสาทและสมอง ที่ตรวจวินิจฉัย รักษาและฟื้นฟูความผิดปกติของโรคระบบประสาทและสมองอย่างครอบคลุม ให้บริการการรักษาแบบ Mechanical Thrombectomy การรักษาภาวะหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงสมองอุดตันเฉียบพลันโดยการสวนหลอดเลือดสมอง ที่ถือเป็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางการแพทย์ล่าสุด และเมื่อปีที่ผ่านมา 2565 มีการเปิดศูนย์มะเร็งพิษณุเวชฮอไรซัน ร่วมดูแลคุณโดย บำรุงราษฎร์ เฮลท์ เน็ตเวิร์ก ด้วยความร่วมมือระหว่างโรงพยาบาลพิษณุเวชและโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งแบบครบองค์รวม ซึ่งจะช่วยให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยดีขึ้น

ส่วนในปี 2566 นี้ มีแผนงานขยายพื้นที่ให้บริการ และขยายศูนย์การแพทย์เฉพาะทาง-ลงทุนอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย เพื่อให้บริการครอบคลุมโรคที่มีความซับซ้อน เช่น ศูนย์บริบาลเด็กแรกเกิดฉุกเฉิน, หุ่นยนต์ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า ฯลฯ ซึ่งจะเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างที่มีการนำเอานวัตกรรมทางการแพทย์ที่ทันสมัยมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคเฉพาะทางด้านการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า

ในปัจจุบัน ‘กลุ่มพิษณุเวช’ ในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ ประกอบด้วย โรงพยาบาลพิษณุเวช พิษณุโลก, โรงพยาบาลพิษณุเวช พิจิตร และโรงพยาบาลพิษณุเวช อุตรดิตถ์ และเตรียมขยายโรงพยาบาลอีกแห่งในเร็วๆนี้ จึงนับเป็นอีกก้าวสำคัญในโอกาสครบรอบ 41 ปี รพ.พิษณุเวช เพื่อชุมชน สุขภาพดี ที่มุ่งสร้างคนให้มีจิตใจของความเป็นผู้ให้ตามปณิธานขององค์กรเครือพริ้นซิเพิล เฮลทแคร์ เพื่อร่วมดูแลสังคม ชุมชนและสิ่งแวดล้อมให้เติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

18 เมษายน 2567

พิษณุเวชจัดกิจกรรมสงกรานต์ยุคใหม่ ใส่ใจรักษ์โลก

นพ.วิชญเวทย์ รักษ์กุลชน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพิษณุเวชและโรงพยาบาลรวมแพทย์ พิษณุโลกในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ พร้อมทีมบริหาร ร่วมสืบสานประเพณีไทย จัดกิจกรรมสรงน้ำพระ รดน้ำดำหัวขอพรบุคลากรอาวุโส เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ปี 2567 ปีใหม่ของไทย มอบรอยยิ้มและความสุขให้บุคลากรและพนักงานของรพ.คลายร้อน และสร้างสัมพันธภาพระหว่างทีมบริหารและพนักงาน

18 เมษายน 2567

พิษณุเวชจัดกิจกรรมสงกรานต์ยุคใหม่ ใส่ใจรักษ์โลก

นพ.วิชญเวทย์ รักษ์กุลชน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพิษณุเวชและโรงพยาบาลรวมแพทย์ พิษณุโลกในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ พร้อมทีมบริหาร ร่วมสืบสานประเพณีไทย จัดกิจกรรมสรงน้ำพระ รดน้ำดำหัวขอพรบุคลากรอาวุโส เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ปี 2567 ปีใหม่ของไทย มอบรอยยิ้มและความสุขให้บุคลากรและพนักงานของรพ.คลายร้อน และสร้างสัมพันธภาพระหว่างทีมบริหารและพนักงาน

04 เมษายน 2567

นพ.วิชญเวทย์ รักษ์กุลชน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพิษณุเวช พร้อมทีม ร่วมแสดงความเสียใจในงานสวดพระอภิธรรมนายชาญชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ บิดาของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก

นายแพทย์วิชญเวทย์ รักษ์กุลชน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพิษณุเวช ในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ พร้อมด้วยนายแพทย์วีรพล ราชคำ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงพยาบาลและทีมบริหาร ร่วมแสดงความเสียใจในงานสวดพระอภิธรรมนายชาญชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ บิดานายมนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก พร้อมมอบเงินสมทบร่วมทำบุญที่จะนำไปมอบให้รพ.พุทธชินราช เพื่อการประโยชน์ต่อไป 3 เมษายน 2567 มูลนิธิประสาทบุญสถาน

04 เมษายน 2567

นพ.วิชญเวทย์ รักษ์กุลชน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพิษณุเวช พร้อมทีม ร่วมแสดงความเสียใจในงานสวดพระอภิธรรมนายชาญชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ บิดาของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก

นายแพทย์วิชญเวทย์ รักษ์กุลชน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพิษณุเวช ในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ พร้อมด้วยนายแพทย์วีรพล ราชคำ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงพยาบาลและทีมบริหาร ร่วมแสดงความเสียใจในงานสวดพระอภิธรรมนายชาญชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ บิดานายมนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก พร้อมมอบเงินสมทบร่วมทำบุญที่จะนำไปมอบให้รพ.พุทธชินราช เพื่อการประโยชน์ต่อไป 3 เมษายน 2567 มูลนิธิประสาทบุญสถาน

04 เมษายน 2567

พิษณุเวช จัดกิจกรรมทบทวนการฝึกปฏิบัติ CPR การช่วยชีวิตสำหรับเด็กตามมาตรฐานการช่วยชีวิตในห้องผ่าตัดและหอพักผู้ป่วย ในกรณีเกิด Code Blue

เป็นเลิศด้านมาตรฐานการดูแลรักษาชีวิต โรงพยาบาลพิษณุเวช ในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ จัดทบทวนการฝึกปฏิบัติ CPR การช่วยชีวิตสำหรับเด็กตามมาตรฐานการช่วยชีวิตในห้องผ่าตัดและหอพักผู้ป่วย ในกรณีเกิด Code Blue ขึ้นในรพ. เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทุกคนพร้อมปฏิบัติตามมาตรฐานในการช่วยรักษาชีวิตแก่ผู้ป่วยทุกท่านทันท่วงที

04 เมษายน 2567

พิษณุเวช จัดกิจกรรมทบทวนการฝึกปฏิบัติ CPR การช่วยชีวิตสำหรับเด็กตามมาตรฐานการช่วยชีวิตในห้องผ่าตัดและหอพักผู้ป่วย ในกรณีเกิด Code Blue

เป็นเลิศด้านมาตรฐานการดูแลรักษาชีวิต โรงพยาบาลพิษณุเวช ในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ จัดทบทวนการฝึกปฏิบัติ CPR การช่วยชีวิตสำหรับเด็กตามมาตรฐานการช่วยชีวิตในห้องผ่าตัดและหอพักผู้ป่วย ในกรณีเกิด Code Blue ขึ้นในรพ. เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทุกคนพร้อมปฏิบัติตามมาตรฐานในการช่วยรักษาชีวิตแก่ผู้ป่วยทุกท่านทันท่วงที

04 เมษายน 2567

พิษณุเวช จัดอบรม Equipment Clinical Alarm Management ตามมาตรฐาน COP-Care of patient

มาตรฐานการดูแลที่เป็นเลิศเพื่อการดูแลรักษาชีวิต โรงพยาบาลพิษณุเวช ในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ จัดอบรม Equipment Clinical Alarm Management ตามมาตรฐาน COP-Care of patient เพื่อให้เครื่องมือทางการแพทย์พร้อมใช้งานในทุกนาทีการดูแลชีวิต เพราะหากเครื่องมือทางการแพทย์ที่สำคัญต่อการรักษาการช่วยชีวิตเกิดการ Alarm เจ้าหน้าที่พยาบาลต้องตรวจสอบ ตรวจเช็คประเมินเครื่องมือ และอาการผู้ป่วย เพื่อรายงานแพทย์ให้ทราบทันที และสิ่งสำคัญจะต้องเซ็ตอุปกรณ์ต่างๆให้เหมาะสมกับผู้ป่วยเฉพาะราย

04 เมษายน 2567

พิษณุเวช จัดอบรม Equipment Clinical Alarm Management ตามมาตรฐาน COP-Care of patient

มาตรฐานการดูแลที่เป็นเลิศเพื่อการดูแลรักษาชีวิต โรงพยาบาลพิษณุเวช ในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ จัดอบรม Equipment Clinical Alarm Management ตามมาตรฐาน COP-Care of patient เพื่อให้เครื่องมือทางการแพทย์พร้อมใช้งานในทุกนาทีการดูแลชีวิต เพราะหากเครื่องมือทางการแพทย์ที่สำคัญต่อการรักษาการช่วยชีวิตเกิดการ Alarm เจ้าหน้าที่พยาบาลต้องตรวจสอบ ตรวจเช็คประเมินเครื่องมือ และอาการผู้ป่วย เพื่อรายงานแพทย์ให้ทราบทันที และสิ่งสำคัญจะต้องเซ็ตอุปกรณ์ต่างๆให้เหมาะสมกับผู้ป่วยเฉพาะราย