Header

Q&A ตอบคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคกระดูก

นพ.ชุมพล ปิยวัณโณ | โรงพยาบาลพิษณุเวช นพ.ชุมพล ปิยวัณโณ

Q&A ตอบคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคกระดูก

ช่วงเริ่มเปิดเทอมใหม่ เด็ก ๆ เริ่มกลับสู่โรงเรียนกัน สิ่งที่เห็นคือคุณพ่อ คุณแม่บางบ้าน จะรู้สึกว่ากระเป๋าสะพายของลูก ๆ ใหญ่และหนักมาก ถ้าใช้นาน ๆ กระดูกหลังจะคดไหม?

คำตอบ : ไม่ครับ  ส่วนหากใครสนใจรายละเอียดเกี่ยวกับโรคกระดูกหลังคดในเด็ก ๆ หรือวัยรุ่น ติดตามอ่านต่อด้านล่างได้เลยครับ

 

Q : กระดูกหลังคด เกิดขึ้นได้อย่างไร?

A: สาเหตุที่ทำให้กระดูกหลังคดผิดรูป มีได้หลายประการ เช่น ความผิดปกติของกระดูกตั้งแต่เกิด ความผิดปกติของระบบประสาท ความผิดรูปของข้อต่อกระดูกสันหลัง เป็นต้น แต่รูปแบบของกระดูกหลังคดที่พบบ่อยที่สุดในเด็กวัยรุ่น คือ "เป็นแบบที่ไม่มีสาเหตุ (Adolescent Idiopathic Scoliosis)" ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่ชัดเจน มีการคาดเดาว่าอาจจะเกิดจากหลาย ๆ ปัจจัยเช่น

 

  1. ปัจจัยทางพันธุกรรม
  2. ความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง
  3. ความผิดปกติของระบบฮอร์โมน และระบบ metabolism
  4. การเจริญเติบโตของกระดูกที่ผิดปกติ
  5. ปัจจัยทางกลศาสตร์
  6. ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม และ lifestyle เช่นโภชนาการ การออกกำลังกาย เป็นต้น

ซึ่งมักไม่ได้มีปัจจัยใด ปัจจัยหนึ่งที่ชัดเจน ส่วนใหญ่ที่พบ มักเป็นแบบไม่รู้สาเหตุจริง ๆ ครับ

 

Q: กระดูกคดแบบนี้ พบบ่อยไหม มีคนอื่น ๆ เป็นแบบนี้ไหม?

A: จริง ๆ ก็มีพอสมควรครับ เพียงแต่เราอาจจะเห็นหรือไม่เห็นแค่นั้นเอง ตามรายงานวิจัย พบว่า เด็กที่มีกระดูกหลังเอียงแบบน้อยมาก ๆ ไม่เกิน 10 องศา (ดูจากภายนอก อาจไม่รู้) พบได้ถึงร้อยละ 4.5 (หมายความว่า ในห้องเรียน 1 ห้อง ที่มีเด็ก 40 คน จะมีคนที่กระดูกเอียงอยู่ 1-2 คน) อาจมีอาการเพียงไหล่ไม่เท่ากัน หรือกระดูกสะบักเอียงเล็กน้อย ซึ่งถ้าไม่ได้ตรวจหรือสังเกตดี ๆ อาจจะไม่เห็นเลยก็ได้

  •  แบบที่เอียงเล็กน้อย ประมาณ 10-20 องศา พบได้ร้อยละ 2-3
  •  แบบที่เอียงมากขึ้นหน่อย ประมาณ 20-40 องศา ซึ่งเป็นกลุ่มที่ต้องเริ่มรับการรักษาจะพบได้ร้อยละ 0.1-0.5
  •  แบบที่เอียงมากกว่า 40 องศา มีแนวโน้มที่อาจจะต้องรับการผ่าตัด จะพบได้ประมาณร้อยละ 0.1 (ประมาณ 1 ใน 1,000 ราย)

 

Q: กระดูกจะเอียงมากขึ้นไหม?

A: การเพิ่มขึ้นของกระดูกสันหลังที่คด ขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น 

  • เพศหญิง มีโอกาสที่มุมจะเพิ่มขึ้นมากกว่าเพศชาย
  • อายุที่เริ่มตรวจพบ ยิ่งเป็นแต่อายุน้อย ยิ่งมีโอกาสที่จะคดมากขึ้น
  • จำนวน และลักษณะของการคดของกระดูกสันหลัง ซึ่งต้องประเมินจากการถ่ายภาพเอกซเรย์

การที่จะคาดการณ์ หรือประมาณได้ว่าจะคดมากขึ้นไหม จะต้องประเมินจากปัจจัยหลายอย่าง แนะนำว่าควรรับการตรวจกับแพทย์เฉพาะทางกระดูกและข้อ หรือแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูใกล้บ้าน เพื่อประเมินให้ชัดเจนขึ้นครับ

 

Q: ถ้าปล่อยทิ้ง จะหายเอง หรือจะเป็นมากขึ้นไหม?

A: มีทั้งสามแบบ คือ หายเอง เท่าเดิม หรือเป็นมากขึ้นครับ

  • แบบที่หายเอง มีโอกาสน้อยมาก จะมีโอกาสประมาณร้อยละ 3 ในคนที่มุมน้อยกว่า 11 องศา แต่ถ้ามุมมากกว่านั้น โอกาสก็น้อยมาก ๆ ลงไปอีกครับ
  • แบบที่เท่าเดิม คือในกลุ่มคนที่มุมความเอียง ยังคงน้อยกว่า 30 องศาไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งกระดูกหยุดการเจริญเติบโต (ช่วงวัยรุ่นตอนปลาย จนถึงอายุประมาณ 20+ ปี) ความคดก็มักจะคงที่ ไม่ค่อยมีการเพิ่มขึ้นอีกต่อไปแล้ว
  • แบบที่มุมจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ คือกลุ่มที่มุมความคดมากกว่า 50-75 องศา จะมีการเพิ่มของมุมมากขึ้นไปเรื่อย ๆ ประมาณ 0.75-1 องศาต่อปีครับ ซึ่งมักมีความจำเป็นของการผ่าตัดเพื่อยับยั้งความผิดรูป ไม่ให้เป็นมากขึ้นครับ

 

Q: การสะพายกระเป๋าหนัก เป็นสาเหตุทำให้กระดูกคดไหม?

A: จากหลักฐาน ณ ปัจจุบัน ยังไม่พบว่าการสะพายกระเป๋าหนัก หรือท่าทางของการนั่ง จะเป็นเหตุโดยตรง ที่ทำให้มีกระดูกสันหลังคด แต่หากในผู้ที่มีกระดูกสันหลังคดแล้ว การสะพายของหนัก จะทำให้ความสมดุลของกระดูกหลัง เปลี่ยนแปลงได้ง่ายขึ้น จึงแนะนำว่า หากมีกระดูกหลังคดอยู่เดิมแล้ว ไม่ควรสะพายของหนักกว่าร้อยละ 10 ของน้ำหนักตัวครับ

 

Q: จะรู้ได้อย่างไรว่ากระดูกหลังคดหรือไม่?

A: สามารถสังเกต และตรวจเองเบื้องต้นได้ว่ากระดูกหลังเอียง คดหรือไม่ ดูได้ที่รูปประกอบคำบรรยายเลยครับ จะแนะนำถึงวิธีการสังเกต และตรวจเบื้องต้น ให้ผู้ปกครองสังเกตลูกๆหลานๆ ได้ด้วยตัวเองครับ


ภาพที่ 1 ก้มหลัง โน้มตัวไปด้านหน้า ถ้ามีกระดูกหลังคด จะพบว่าจะมีความนูนของหลังสองข้างไม่เท่ากันหรือภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า rib hump ครับ

ภาพที่ 2 คือท่าเดียวกัน เพียงแต่มองจากด้านหลัง จะเห็นความสูงต่ำของลำตัวได้ชัดขึ้นครับ

ภาพที่ 3 คือการใช้อุปกรณ์วัดมุม ถ้าใน smart phone หา search คำว่า scoliometer เลยครับ มีหลายแบบมาก ๆ โหลดมาแล้ว ใช้งานโดยวางทาบกับหลัง ในท่าที่ก้มอยู่ตามภาพ ถ้าปกติ หลังไม่เอียง ค่าก็จะเป็น 0 องศาครับ ปกติถ้าวัดแล้ว มีความเอียงเกิน 7-10 องศา ควรไปรับการตรวจประเมินอีกครั้งโดยแพทย์ และทำการ x-ray ครับ ถ้าพบว่า น่าจะมีกระดูกสันหลังคด แนะนำให้พบแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เพื่อตรวจร่างกายและพิจารณา x-ray ต่อไปครับ



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

orthopedic-center

ศูนย์กระดูกและข้อ

สถานที่

อาคาร 4 ชั้น 1

เวลาทำการ

08:00 - 17:00 น.

เบอร์ติดต่อ

055-90-9000 ต่อ 520401,  520402

แพทย์ประจำศูนย์

ศูนย์กระดูกและข้อ

นพ.อาทิตย์ มะโนประเสริฐกุล

ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ

ศูนย์กระดูกและข้อ

นพ.วิบูลย์ วาณิชย์เจริญพร

ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ

ศูนย์กระดูกและข้อ

พญ.มีนา เพิ่มไทย

ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์