Header

การผ่าตัดดามกระดูกหัก แบบผ่าตัดแผลเล็ก ดีอย่างไร

นพ.ชุมพล ปิยวัณโณ | โรงพยาบาลพิษณุเวช นพ.ชุมพล ปิยวัณโณ

การผ่าตัดดามกระดูกหัก แบบผ่าตัดแผลเล็ก

การผ่าตัดดามกระดูกหัก แบบผ่าตัดแผลเล็ก

กระดูก คือองค์ประกอบที่เป็นส่วนสำคัญกับร่างกายของเรา ทำหน้าที่รับน้ำหนัก ส่งถ่ายน้ำหนัก ช่วยทรงตัวในขณะนอน ยืน เดิน  นอกจากนี้กระดูกยังทำหน้าที่เป็นที่ยึดเกาะของเอ็นและกล้ามเนื้อและป้องกันอวัยวะสำคัญต่าง ๆ  หากกระดูกได้รับการกระทบกระแทกด้วยความรุนแรง ก็จะมีโอกาสเกิด “ภาวะกระดูกหัก” ได้

กลไกการเกิดภาวะกระดูกหัก เกิดจากแรงกระทำต่อกระดูก ที่เกินกว่ากระดูกจะทนหรือรับไหว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้กระดูกหัก นั้นจะมาจากอุบัติเหตุ การเกิดกระดูกหักนั้น แบ่งได้เป็น 2 แบบคือ

  1. อุบัติเหตุรุนแรง แบบที่มีแรงกระแทกมากพอที่จะทำให้กระดูกแตกหรือหักได้ เช่นอุบัติเหตุจราจร ตกที่สูง หรือถูกกระแทกด้วยของแข็งอย่างแรง ในกรณีนี้มักมีการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อรอบ ๆ กระดูกที่หัก เช่น กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น เส้นประสาทบาดเจ็บร่วมด้วย
  2. อุบัติเหตุที่ไม่รุนแรง แต่กระดูกเปราะบาง ไม่แข็งแรงอยู่เดิม เช่นเป็นโรคกระดูกพรุนที่ไม่ได้รับการรักษา ในกรณีนี้กระดูกสามารถหักได้แม้มีแรงกระทำที่เล็กน้อย เช่นกระดูกสะโพก หรือข้อมือหัก จากการพลัดหกล้มเบา ๆ เท่านั้นได้

โดยทั้งสองกรณี จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวด แขนขาผิดรูป จนไม่สามารถดำเนินกิจวัตรตามปกติได้ ในบางรายอาจทำให้ไม่สามารถลุกยืน หรือนั่งได้ ทำให้ติดเตียง และเกิดผลแทรกซ้อนตามมาได้มาก

การรักษานอกจากจะหวังผลให้กระดูกที่หักเชื่อมติดกัน ยังหวังผลให้สามารถลุกนั่ง ยืนเดินได้เร็ว กระดูกเชื่อมติดดี ไม่มีความผิดรูปของแขนขา และก่อให้เกิดการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อข้างเคียง และความเจ็บปวดจากการผ่าตัดให้น้อยที่สุด ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่

  1. การรักษาแบบไม่ผ่าตัด เช่น การใส่เฝือก การใส่อุปกรณ์พยุง
  2. การรักษาแบบผ่าตัด ดามโลหะ ซึ่งมีหลากหลายชนิด ทั้งแบบแผ่นเหล็กดามด้านข้างกระดูก (Plate and screw) และแบบดามในแกนกลางของกระดูก (Intramedullary nail) ซึ่งการเลือกใช้แบบใดนั้น ขึ้นกับการพิจารณาความเหมาะสมกับผู้ป่วยในแต่ละราย เป็นกรณี ๆ ไป

การผ่าตัดแบบดามโลหะด้านข้างกระดูก (Plate and screw) นั้นได้มีการพัฒนาเทคนิค และเครื่องมือที่ใช้ผ่าตัดมาอย่างต่อเนื่อง จากเดิมที่ต้องเปิดบาดแผลยาวตลอดแนวของกระดูกที่หัก เพื่อจัดเรียงกระดูก และดามโลหะ ปัจจุบันสามารถจัดเรียงกระดูกได้โดยใช้เครื่อง X-Ray ในห้องผ่าตัดช่วย ทำให้ไม่ต้องเปิดแผลยาว และสามารถทำการดามโลหะได้ด้วยการใช้เครื่องมือพิเศษบางอย่างช่วย โดยเรียกวิธีการผ่าตัดแบบนี้ว่า MIPO (Minimally Invasive Plating Osteosynthesis) technique

ในรูปตัวอย่าง เป็นเคสผู้ชาย อายุ 38 ปี ประสบอุบัติเหตุจราจร มีกระดูกต้นแขนซ้ายหัก ผิดรูป ตำแหน่งที่หัก แตกออกเป็นหลายชิ้นและยาวประมาณ ⅓ ของความยาวแขน ในกรณีนี้เราเลือกวิธีการผ่าตัดแบบแผลเล็ก จะเปิดแผลเฉพาะที่จำเป็น ร่วมกับการจัดเรียงกระดูกโดยใช้เครื่อง X-Ray ช่วย หลังจากนั้นก็ดามโลหะดามกระดูกแบบพิเศษ (Locking Compression Plate) 

ดังภาพที่แสดง จะเปรียบเทียบขนาดของแผลผ่าตัด หากผ่าตัดด้วยการผ่าตัดแบบปกติ จะมีขนาดบาดแผลยาวประมาณเท่ากับเส้นประสีเหลือง ทำการเลาะเนื้อเยื่อรอบ ๆ บริเวณที่หักเป็นบริเวณกว้าง เพื่อจัดเรียงกระดูกก่อนดามโลหะ ซึ่งการเลาะเนื้อเยื่อมากเกินไป จะทำให้กระดูกเชื่อมติดยากขึ้น กรณีทีผ่าตัดแบบแผลเล็ก จะมีขนาดบาดแผลประมาณเท่ากับในวงกลมสีเขียว ซึ่งทำให้ไม่ต้องเลาะเนื้อเยื่อรอบ ๆ กระดูกออก มีความบาดเจ็บน้อย และทำให้กระดูกเชื่อมติดได้เร็วกว่า

ตารางเปรียบเทียบการผ่าตัด

รายละเอียด การผ่าตัดแบบแผลเล็ก การผ่าตัดแบบแผลปกติ
1) ขนาดแผล เล็กกว่า ใหญ่กว่า
2) ความเจ็บปวด น้อยกว่า มากกว่า
3) การบาดเจ็บของเนื้อเยื่อบริเวณที่ผ่าตัด น้อยกว่า มากกว่า
4) การหาย (การเชื่อมติดกันของกระดูกที่หัก) เท่ากัน หรือดีกว่า เท่ากัน หรือน้อยกว่า
5) ระยะเวลาของการผ่าตัด (+ระยะเวลาการดมยาสลบ) เท่ากันหรือแนวโน้มมากกว่า
(ขึ้นกับหลายปัจจัย)
เท่ากันหรือแนวโน้มมากกว่า
(ขึ้นกับหลายปัจจัย)
6) ปริมาณรังสี X-Ray ที่ได้รับขณะทำการผ่าตัด มากกว่า น้อยกว่า
7) ค่าใช้จ่าย เท่ากันหรือแนวโน้มมากกว่า
(ขึ้นกับหลายปัจจัย)
เท่ากันหรือแนวโน้มน้อยกว่า
(ขึ้นกับหลายปัจจัย)
8) ผลแทรกซ้อนจากการผ่าตัด    
การติดเชื้อ น้อยกว่า มากกว่า
หลอดเลือด-เส้นประสาทบาดเจ็บ น้อยกว่า มากกว่า
การเสียเลือด น้อยกว่า มากกว่า
กระดูกไม่ติด น้อยกว่า มากกว่า
กระดูกเชื่อมติดแบบผิดรูป เท่ากัน หรือแนวโน้มมากกว่า
(ขึ้นกับหลายปัจจัย)
เท่ากัน หรือแนวโน้มน้อยกว่า
(ขึ้นกับหลายปัจจัย)

 

 

 

อโรคยา ปรมาลาภา จริง ๆ แล้วการปลอดจากโรคนั้นย่อมดีที่สุด

ขับขี่ด้วยความระมัดระวัง รักษากฎจราจร ป้องกันไว้ดีกว่าแก้เสมอครับ



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

orthopedic-center

ศูนย์กระดูกและข้อ

สถานที่

อาคาร 4 ชั้น 1

เวลาทำการ

08:00 - 17:00 น.

เบอร์ติดต่อ

055-90-9000 ต่อ 520401,  520402

แพทย์ประจำศูนย์

ศูนย์กระดูกและข้อ

นพ.รัฐพล ศรีผ่องใส

ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ

ศูนย์กระดูกและข้อ

นพ.ณัฐ โพธิ์ปาน

ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ

ศูนย์กระดูกและข้อ

นพ.จงดี พึ่งวิรวัฒน์

ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์