Header

ปวดประจำเดือนแบบนี้ผิดปกติหรือเปล่า?

ปวดประจำเดือนแบบนี้ผิดปกติหรือเปล่า?

“อาจไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย ไม่ควรปล่อยให้ลุกลาม”

อาการปวดประจำเดือน อาจจะเริ่มปวดตั้งแต่ก่อนมีหรือปวดขณะมีประจำเดือนได้ อาจจะปวดเพียงเล็กน้อยพอทนได้ หรือปวดมากจนต้องรับการรักษา

“ประจำเดือน” คือเยื่อบุของโพรงมดลูกที่หลุดออกมาทุกรอบเดือนของผู้หญิง ในปกติผู้หญิงที่อยู่ในช่วงวัยเจริญพันธุ์จะมีรอบเดือนทุกๆ 21-35 วัน และแต่ละรอบจะยาวนานราว 2-7 วัน หากประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือมีความผิดปกติอะไรบางอย่าง อาจเป็นสัญญาณเตือนถึงความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ได้

ปวดประจำเดือน แบ่งได้สองระดับ

  1. ปวดประจำเดือนปฐมภูมิ (Primary Dysmenorrhea) เป็นกลุ่มที่พบบ่อยที่สุด มักเกิดจากเยื่อบุโพรงมดลูกผลิตสารโพรสตาแกลนดินมากเกินไป
  2. ปวดประจำเดือนทุติยภูมิ (Secondary Dysmenorrhea) ปวดท้องน้อยแม้ในขณะที่ไม่มีประจำเดือน เกิดจากภาวะผิดปกติของมดลูกหรืออวัยวะสืบพันธุ์อื่นๆ อาจทำให้มีอาการปวดประจำเดือนมากหรือปวดท้องน้อย เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ช็อกโกแลตซีสต์ เนื้องอกมดลูก ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ ภาวะปากมดลูกตีบ การอักเสบติดเชื้อ เป็นต้น

การรักษาภาวะเลือดออกผิดปกติในช่องคลอด

ถ้าอาการที่เกิดขึ้นเกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของรังไข่ แพทย์อาจพิจารณาให้รับประทานยา เพื่อควบคุมการทำงานของรังไข่ แต่ถ้ามีเนื้องอกในมดลูก หรือมีมะเร็งของระบบสืบพันธุ์ อาจรักษาด้วยการผ่าตัด หรือใช้รังสีรักษา สำหรับผู้ที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติในช่องคลอด สามารถเข้ารับคำปรึกษาแพทย์แผนกสูตินรีเวช

 

การตรวจวินิจฉัยโรค เมื่อมีเลือดออกผิดปกติในช่องคลอด

แพทย์จะทำการซักประวัติถึงอาการที่เป็นอยู่เพื่อหาสาเหตุอย่างคร่าวๆ จากนั้นในบางรายที่มีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ แพทย์อาจขอตรวจภายใน และอาจจะต้องมีการตรวจเซลล์ของปากมดลูกที่เรียกว่า Pap smear เพื่อตรวจคัดกรองภาวะมะเร็งปากมดลูก (แนะนำให้ตรวจทุกๆ 2-3 ปี ในกลุ่มที่ไม่มีความเสี่ยง แต่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น ติดเชื้อ HIV แพทย์จะแนะนำให้ตรวจทุกปี) ในบางกรณี แพทย์อาจขอตรวจเยื่อบุโพรงมดลูก โดยการขูดมดลูก หรือเอาเซลล์ของมดลูกมาตรวจ ในกรณีที่แพทย์อาจสงสัยว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นเนื้องอกหรือไม่ แพทย์อาจขอตรวจอัลตร้าซาวนด์ หรือที่เรียกว่าการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง และในกรณีที่จะตรวจระดับฮอร์โมน แพทย์อาจขอเจาะเลือดตรวจ ซึ่งนอกจากจะตรวจระดับฮอร์โมนแล้ว ยังสามารถตรวจภาวะโลหิตจางได้ด้วย

 

เมื่อไหร่? ที่ควรพบแพทย์

  • มีอาการปวดประจำเดือนมาก
  • เลือดประจำเดือนมีมากกว่าปกติ อาจต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยทุกชั่วโมง
  • ปวดท้องน้อยแม้ขณะที่ไม่มีประจำเดือน
  • มีอาการติดเชื้อ เช่น ตกขาวมีกลิ่น คันบริเวณปากช่องคลอด เลือดประจำเดือนมีสีแปลกไปจากปกติ
  • มีบุตรยาก
  • คลำได้ก้อนที่ท้อง
  • มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด


ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

คลินิกสูติ-นรีเวช

สถานที่

อาคาร 4 ชั้น 5

เวลาทำการ

09:00 - 17:00 น.

เบอร์ติดต่อ

055-90-9000 ต่อ 520201, 520202

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์