Header

หัวใจเต้นระริก เต้นผิดจังหวะ เสี่ยงถึงชีวิต

06 พฤศจิกายน 2567

พญ.ฐิตยา	สุขุปัญญารักษ์ พญ.ฐิตยา สุขุปัญญารักษ์

หัวใจเต้นระริก เต้นผิดจังหวะ เสี่ยงถึงชีวิต

หัวใจเต้นระริก (Atrial Fibrillation / AF) คืออะไร?

หัวใจเต้นระริก (Atrial Fibrillation / AF) หรือบางทีเรียกสั้น ๆ ว่า "เอเอฟ" เป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดหนึ่งที่พบได้มากขึ้นในปัจจุบัน เกิดจากหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะ เป็นลักษณะการสั่นระริกหรือสั่นพลิ้ว ทำให้หัวใจห้องบนเต้นเร็วและไม่สม่ำเสมอได้ จึงส่งให้หัวใจห้องบนและหัวใจห้องล่างเต้นไม่ประสานงานกันอีกต่อไป ซึ่งอาจทำให้เลือดไหลผ่านหัวใจได้ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรจะเป็น เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดลิมเลือด ส่งผลให้มีภาวะความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน เกิดหัวใจล้มเหลว และโรคหลอดเลือดสมองตามมา

หัวใจเต้นระริกมักจะพบมากขึ้นในผู้สูงอายุ พบมากถึง 60 ล้านคนทั่วโลก โดยพบ 10% ในผู้มีอายุมากกว่า 60 ปี เมื่อเป็นหัวใจเต้นระริก อาจจะมีความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองตามมาถึง 5 เท่า

จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นหัวใจเต้นระริก ?

อาการของหัวใจเต้นระริก

  1. มีอาการใจสั่น ใจสะดุด หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ
  2. รู้สึกเจ็บหรือแน่นหน้าอก หายใจลำบาก
  3. เหนื่อยง่ายขึ้นขณะออกกำลังกาย
  4. มีอาการเส้นเลือดในสมองตีบ
  5. เป็นลมหมดสติ

มาดูกันว่าหัวใจเต้นระริกมีกี่ชนิด

ชนิดหัวใจเต้นระริก

  1. Paroxysmal Atrial Fibrillation คือ หัวใจห้องบนเต้นพลิ้วที่เมื่อเกิดขึ้นแล้วสามารถหายไปได้เอง หรือหายได้จากการรักษาภายใน 7 วัน ส่วนใหญ่มักจะหายไปได้เอง ภายใน 24-48 ชั่วโมงแรก
  2. Persistent Atrial Fibrillation คือ หัวใจห้องบนเต้นพลิ้วที่เกิดขึ้นและเป็นมานานกว่า 7 วัน แต่น้อยกว่า 1 ปี
  3. Permanent Atrial Fibrillation คือ หัวใจห้องบนเต้นพลิ้วที่เกิดขึ้นและเป็นมานาน ที่ไม่สามารถรักษาให้กลับมาเต้นเป็นปกติได้ด้วยวิธีการต่าง ๆ หรือ แพทย์และผู้ป่วยตัดสินใจว่าจะไม่พยายามรักษาให้กลับมาเต้นเป็นปกติ หากแต่จะคุมอัตราการเต้นหัวใจเท่านั้น

อะไรบ้างที่ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นหัวใจเต้นระริก ?

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดหัวใจเต้นระริก

1. ปัจจัยที่แก้ไขได้

  • โรคเบาหวาน
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • โรคไทรอยด์เป็นพิษ
  • โรคอ้วน
  • การสูบบุหรี่
  • การดื่มแอลกอฮอล์
  • ความเครียด

2. ปัจจัยที่แก้ไขไม่ได้

  • อายุที่มากขึ้น
  • มีประวัติครอบครัวเป็นหัวใจระริกตั้งแต่อายุยังน้อย
  • มีโรคร่วมของโรคหัวใจ เช่น เส้นเลือดหัวใจตีบ ลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบ

หัวใจเต้นระริกสามารถรักษาและป้องกันได้หรือไม่ ?

การรักษาและการป้องกันหัวใจเต้นระริก

  1. ค้นหาสาเหตุ และปัจจัยเสี่ยง ร่วมกับการหลีกเลี่ยงภาวะดังกล่าว
  2. ควบคุมหัวใจให้เต้นเป็นจังหวะ (Rhythm Control) เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการเป็นครั้งคราว ( Paroxysmal Atrial Fibrillation, Persistent Atrial Fibrillation) สามารถรักษาด้วยการรับประทานยา การใช้เครื่องกระตุกไฟฟ้า เพื่อให้หัวใจเต้นเป็นจังหวะปกติ (Cardioversion) การจี้ด้วยไฟฟ้าผ่านคลื่นเสียงความถี่สูง (Electro Physiologic Study and Radiofrequency Ablation)
  3. ควบคุมหัวใจอัตราการเต้นของหัวใจ (Rate Control) เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เป็นถาวร (Permanent Atrial Fibrillation) หากมีอาการรู้สึกใจสั่นน้อย สามารถรักษาด้วยการรับประทานยา
  4. การป้องกันการเกิดลิ่มเลือด การรับประทานยาละลายลิ่มเลือด อาจจะเป็นกลุ่ม Warfarin / NOAC

 

ที่มา : World Heart Federation



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์หัวใจ

ศูนย์หัวใจ

สถานที่

อาคาร 4 ชั้น 5

เวลาทำการ

09:00 - 17:00 น.

เบอร์ติดต่อ

055-90-9000 ต่อ 520101, 520102

แพทย์ประจำศูนย์

ศูนย์หัวใจ

นพ.สุรพันธ์ พนมศักดิ์

อายุรแพทย์โรคหัวใจ

ศูนย์หัวใจ

นพ.ชาญวัฒน์ ปิตินันท์

อายุรแพทย์โรคหัวใจ

ศูนย์หัวใจ

พญ.ฐิตยา สุขุปัญญารักษ์

อายุรแพทย์โรคหัวใจ สรีระไฟฟ้าหัวใจ

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Permanent Pacemaker) ตัวช่วยรักษาหัวใจ

การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Permanent Pacemaker) เป็นหัตถการทางการแพทย์เพื่อฝังอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เข้าไปในผนังหน้าอกใต้ผิวหนังเพื่อกระตุ้นจังหวะการเต้นของหัวใจ ช่วยแก้ไขจังหวะการเต้นของหัวใจที่เต้นช้าหรือการเต้นไม่สม่ำเสมอ โดยจะส่งสัญญาณไฟฟ้าไปยังหัวใจห้องที่ทำงานผิดปกติ เพื่อช่วยให้หัวใจเต้นเร็วพอที่จะสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างเพียงพอ

blank โรงพยาบาลพิษณุเวช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Permanent Pacemaker) ตัวช่วยรักษาหัวใจ

การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Permanent Pacemaker) เป็นหัตถการทางการแพทย์เพื่อฝังอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เข้าไปในผนังหน้าอกใต้ผิวหนังเพื่อกระตุ้นจังหวะการเต้นของหัวใจ ช่วยแก้ไขจังหวะการเต้นของหัวใจที่เต้นช้าหรือการเต้นไม่สม่ำเสมอ โดยจะส่งสัญญาณไฟฟ้าไปยังหัวใจห้องที่ทำงานผิดปกติ เพื่อช่วยให้หัวใจเต้นเร็วพอที่จะสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างเพียงพอ

blank โรงพยาบาลพิษณุเวช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

26 มิถุนายน 2567

โซเดียมแฝง ภัยเงียบแอบมากับอาหาร

โซเดียมแฝงเป็นปัญหาสุขภาพที่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากการบริโภคโซเดียมมากเกินไปสามารถนำไปสู่ปัญหาสุขภาพรุนแรงได้ การรู้จักแหล่งโซเดียมแฝงในอาหารและวิธีการลดการบริโภคโซเดียมจะช่วยให้เรามีสุขภาพที่ดีและป้องกันปัญหาสุขภาพในอนาคต การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเล็กน้อย เช่น การอ่านฉลากโภชนาการ การเลือกอาหารสด และการปรุงอาหารที่บ้าน สามารถช่วยลดการบริโภคโซเดียมและเสริมสร้างสุขภาพที่ดีให้กับร่างกาย

blank โรงพยาบาลพิษณุเวช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

26 มิถุนายน 2567

โซเดียมแฝง ภัยเงียบแอบมากับอาหาร

โซเดียมแฝงเป็นปัญหาสุขภาพที่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากการบริโภคโซเดียมมากเกินไปสามารถนำไปสู่ปัญหาสุขภาพรุนแรงได้ การรู้จักแหล่งโซเดียมแฝงในอาหารและวิธีการลดการบริโภคโซเดียมจะช่วยให้เรามีสุขภาพที่ดีและป้องกันปัญหาสุขภาพในอนาคต การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเล็กน้อย เช่น การอ่านฉลากโภชนาการ การเลือกอาหารสด และการปรุงอาหารที่บ้าน สามารถช่วยลดการบริโภคโซเดียมและเสริมสร้างสุขภาพที่ดีให้กับร่างกาย

blank โรงพยาบาลพิษณุเวช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การตรวจโรคหัวใจ

โรคหัวใจ หมายถึง โรคต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ โดยโรคหัวใจสามารถแบ่งย่อยได้เป็นหลายกลุ่มโรค เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคลิ้นหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และโรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ เป็นต้น

การตรวจโรคหัวใจ

โรคหัวใจ หมายถึง โรคต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ โดยโรคหัวใจสามารถแบ่งย่อยได้เป็นหลายกลุ่มโรค เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคลิ้นหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และโรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ เป็นต้น