Header

ตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูง

blank โรงพยาบาลพิษณุเวช

ตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูง

การตรวจหัวใจภายนอกโดยใช้เทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ ช่วยในการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียง สะท้อนความถี่สูง จะทําให้เห็นการเคลื่อนและการบีบตัวของหัวใจว่าปกติดีหรือไม่ ความเร็วและความดัน เลือดเป็นอย่างไร ตลอดจนตรวจดูความพิการของหัวใจ การทํางานของลิ้นหัวใจและโรคหัวใจชนิดอื่นๆ AGE GROUP AND GENDER HEART ANALYS เพื่อช่วยในการตัดสินใจว่าจะใช้การรักษาด้วยยาหรือการผ่าตัดและพยากรณ์โรคได้ ซึ่งการตรวจด้วยวิธีนี้จะไม่มีอันตรายและไม่มีความเจ็บปวดใดๆ ใช้เวลาในการตรวจประมาณ 20-30 นาที ใช้หลักการของการส่งคลื่นความถี่สูงลงไปบริเวณหัวใจ เมื่อกระทบส่วนต่างๆ ของหัวใจก็สะท้อนกลับมายังเครื่องเครื่องก็จะแสดงผลเป็นเงาตามความหนาบาง เนื้อเยื่อที่เลี้ยงไปกระทบและส่งกลับทําให้ทราบถึงรูปร่างของหัวใจ ความหนาของผนังหัวใจผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับลิ้นหัวใจสามารถดูการเคลื่อนไหวของผนังหัวใจเปรียบเทียบกัน ทั้งขณะที่พักหรือนอนเฉยๆ กับขณะที่มีการ ออกกําลังกาย การตรวจวิธีนี้สามารถดูได้จากจอแสดงผล และบันทึกเก็บไว้เป็นรูปภาพได้ เพื่อการ ตรวจสอบต่ไปในอนาคต บางคนเรียกการตรวจวิธีนี้ว่า “ตรวจเอ็กโคหัวใจ”

 

ประโยชน์ของการตรวจ ECHO การตรวจเอคโค่จะช่วยแพทย์วินิจฉัยโรคหัวใจโดยตรวจร่วมกับการตรวจวิธีอื่นๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์หัวใจ การสวนหลอดเลือดหัวใจ ทั้งนี้เพื่อการวินิจฉัยโรคทางหัวใจที่แน่นอน โดยมักเป็นโรคที่เกี่ยวกับการทำงาน/การบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ การทำงานของลิ้นหัวใจ การไหลเวียนของเลือดในหัวใจ การเกิดลิ่มเลือดในหัวใจ ขนาดของห้องหัวใจ และตำแหน่งหลอดเลือดต่างๆ ที่เข้าและออกจากหัวใจ

ชนิดของการตรวจอัลตราซาวด์หัวใจ (การตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง) การตรวจโดยใช้คลื่นอัลตราซาวด์นั้นมีอยู่ 4 แบบหลักๆ ได้แก่ 

  • แบบธรรมดาลำแสงเดี่ยว เรียกว่าแบบ M-mode 
  • แบบสองมิติ (two-dimensional) เป็นแบบที่นิยมใช้กันมาก เนื่องจากให้ภาพสองมิติ ได้เห็นภาพทั้งแนวกว้าง แนวลึก เห็นการเปิดปิดของลิ้นหัวใจ มีประโยชน์ในการมองดูการเคลื่อนไหว 
  • แบบ Doppler ซึ่งตรวจจับการเคลื่อนตัวของเลือดได้ด้วย
  • แบบ Color Doppler แสดงสีสันได้ ตรวจทิศทางและความเร็วในการไหลของเลือด ตรวจดูการเปิดปิดของลิ้นหัวใจว่าเป็นปกติดีหรือไม่ ตรวจดูความผิดปกติบริเวณจุดเชื่อมต่อระหว่างหลอดเลือดกับหัวใจ รวมถึงตรวจดูโครงสร้างของหลอดเลือด และลักษณะของห้องหัวใจได้ด้วย

การเตรียมตัว การตรวจโดยวิธีนี้ถือว่ามีความปลอดภัยสูง ไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวล่วงหน้า ไม่ต้องงดน้ำ งดอาหาร แต่หากมียาที่รับประทานเป็นประจำ ต้องแจ้งแพทย์หรือพยาบาลให้ทราบล่วงหน้า เนื่องจากอาจมีผลต่อผลการตรวจและการทำงานของหัวใจ



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์หัวใจ

ศูนย์หัวใจ

สถานที่

อาคาร 4 ชั้น 5

เวลาทำการ

09:00 - 17:00 น.

เบอร์ติดต่อ

055-90-9000 ต่อ 520101, 520102

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์