Header

การตรวจอุจจาระ

blank โรงพยาบาลพิษณุเวช

กระบอกเก็บอุจจาระ

การตรวจอุจจาระ (Stool examination , Stool test , Stool analysis)

คือ การตรวจสุขภาพพื้นฐานการตรวจหนึ่ง เพื่อช่วยแพทย์ในการวินิจฉัยความผิดปกติ หรือโรคในระบบทางเดินอาหาร, หรือหาสาเหตุภาวะ/โรคซีด  โดยเป็นการตรวจลักษณะอุจจาระด้วยตาเปล่า ร่วมกับการตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ

การตรวจอุจจาระ เป็นการตรวจที่ง่าย ขั้นตอนการตรวจไม่ยุ่งยาก ไม่เจ็บตัว ไม่ต้องใช้เทคโนโลยีสูง จึงสามารถให้บริการได้ตั้งแต่ในคลินิก, ในสถานพยาบาลขนาดเล็ก, ไปจนถึงในโรงพยาบาลทุกระดับ, นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายในการตรวจยังไม่แพง และสามารถช่วยวินิจฉัยโรคพื้นฐานในระบบทางเดินอาหารได้หลายโรค เช่น ภาวะ/อาการอาหารไม่ย่อย, โรคพยาธิต่างๆของระบบทางเดินอาหาร, และสามารถตรวจได้ในคนทุกเพศและทุกวัย ตั้งแต่เด็กแรกเกิด(นิยามคำว่าเด็ก)ไปจนถึงผู้สูงอายุ, ดังนั้นจึงเหมาะที่จะเป็นการตรวจสุขภาพพื้นฐานประจำปีของทุกๆคน

การตรวจอุจจาระมีประโยชน์อย่างไร?

ประโยชน์ของการตรวจอุจจาระ: เช่น  ตรวจสุขภาพระบบทางเดินอาหาร เช่น ของกระเพาะอาหาร และ/หรือลำไส้ ตรวจหาตัวพยาธิและไข่พยาธิในระบบทางเดินอาหาร เช่น พยาธิเส้นด้าย, ฯลฯ ตรวจเพาะเชื้อว่า โรคทางเดินอาหารนั้นๆเกิดจากติดเชื้อหรือไม่ฯ และเชื้ออะไรฯ (แบคทีเรีย  โรคติดเชื้อไวรัส   โรคเชื้อรา หรือ โรคติดเชื้อปรสิต) เช่น กรณีท้องเสียโดยเฉพาะท้องเสียเป็นๆหายๆ/เรื้อรัง หรือ อาหารเป็นพิษ
ตรวจระบบการย่อย, การดูดซึมอาหาร, ของกระเพาะอาหารและลำไส้ ตรวจการมีแผลเรื้อรังในทางเดินอาหารที่ก่ออาการเลือดออกเรื้อรัง เช่น แผลในกระเพาะอาหาร/แผลเปบติค หรือแผลโรคมะเร็งในทางเดินอาหาร เช่น โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

ข้อบ่งชี้การตรวจอุจจาระมีอะไรบ้าง?

ข้อบ่งชี้ในการตรวจอุจจาระ: เช่น เป็นการตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อดูสุขภาพทั่วไปของระบบทางเดินอาหาร เช่น อาจ มีไข่พยาธิเพราะหลายคนมีพยาธิโดยไม่รู้ตัว คือไม่มีอาการ, ตรวจความผิดปกติ อื่นๆ เช่น อุจจาระมีไขมันปนมากที่เป็นตัวช่วยบอกถึงภาวะของการย่อยและการดูดซึมอาหารซึ่งเป็นต้นเหตุของหลายอาการในระบบทางเดินอาหาร เช่น อาหารไม่ย่อย ท้องอืด  ท้องเฟ้อ เรอ  เมื่อมีอาการผิดปกติในเนื้อ อุจจาระ เช่น อุจจาระเป็นน้ำ เป็นก้อน หรืออุจจาระเป็นเลือด/มีมูกเลือด ทั้งนี้เพราะสามารถช่วยแพทย์ในการวินิจฉัยแยกโรคได้ เช่น โรคบิด โรคอาหารเป็นพิษ  อหิวาตกโรค หรือโรคเกี่ยวกับระบบการย่อยอาหาร  ตรวจหาตัวพยาธิหรือไข่พยาธิ เช่น พยาธิปากขอ  พยาธิเส้นด้าย  พยาธิใบไม้ตับ,  กรณีแพทย์สงสัยว่าผู้ป่วยอาจมีพยาธิในระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะในเด็ก, ผู้มีอาชีพกสิกรรม ต้องการหาชนิดของเชื้อโรคและ/หรือต้องการทราบถึงประสิทธิผลของยาต่างๆโดยเฉพาะยาปฏิชีวนะ, เมื่อผู้ป่วยมีการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร เช่น แบคทีเรีย โรคติดเชื้อไวรัส  โรคเชื้อรา  หรือโรคติดเชื้อปรสิต ตรวจหาภาวะมีเลือดออกในทางเดินอาหาร เช่น เมื่อผู้ป่วยมีโรคซีดโดยหาสาเหตุไม่ได้, หรือเป็นการคัดกรองหาแผลหรือโรคมะเร็งในระบบทางเดินอาหาร เช่น  มะเร็งลำไส้ใหญ่ ตรวจหาความผิดปกติของการย่อยอาหาร เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุของโรคที่เกี่ยวกับการย่อยและการดูดซึมอาหาร เช่น ภาวะขาดเอนไซม์แลคเตส   ภาวะแพ้นมวัว   อาการท้องเสียเรื้อรังข้อห้ามการตรวจอุจจาระมีอะไรบ้าง? ไม่มีข้อห้ามในการตรวจอุจจาระเพราะเป็นการตรวจที่ง่าย, ไม่ต้องเตรียมตัวล่วงหน้า, ไม่เจ็บตัว,  ค่าใช้จ่ายไม่แพง, ในประเทศเรา การตรวจ/ค่าตรวจจะอยู่ในทุกระบบประกันสุขภาพ

เตรียมตัวอย่างไรในการตรวจอุจจาระ?

การตรวจอุจจาระโดยทั่วไปเป็นการตรวจพื้นฐาน: คือ ตรวจดูลักษณะภายนอกของอุจจาระ,  ตรวจอุจจาระด้วยกล้องจุลทรรศน์, และ/หรือมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการชนิดไม่ยุ่งยาก ดังได้กล่าว แล้วในหัวข้อ การตรวจอุจจาระตรวจอะไรบ้าง’ ดังนั้นจึงไม่ต้องเตรียมตัวล่วงหน้า เพียงเก็บอุจจาระที่ถ่ายตามปกติใส่ภาชนะที่ห้องปฏิบัติการมอบให้, และนำส่งฯห้องตรวจ/ห้องปฏิบัติการ

ส่วนการตรวจเฉพาะเจาะจง: อาจมีการเตรียมตัวบ้างในเรื่องที่เกี่ยวกับการกินอาหาร หรือ การกินยาต่างๆ ที่อาจรบกวนส่งผลให้ผลตรวจผิดพลาดได้ ดังนั้น เพียงหยุดยา หรืองดอาหารตามแพทย์ พยาบาลแนะนำ, ส่วนขั้นตอนอื่นๆเช่นเดียวกับการตรวจอุจจาระพื้นฐาน

ประโยชน์ของการตรวจอุจจาระ

การตรวจอุจจาระในโปรแกรมตรวจสุขภาพของโรงพยาบาลบํารุงราษฎร์เรียกว่า “Stool Exam & Occult Blood”
ซึ่งประกอบด้วยการตรวจสองอย่างหลักๆ ดังนี้

  • Stool Examination - เป็นการตรวจลักษณะทั่วไปของอุจจาระ พยาธิโปรโตซัว เม็ดเลือดขาวและเม็ดเลือดแดง เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร
  • Occult Blood - เป็นการตรวจหาภาวะที่มีเลือดออกมาปนกับอุจจาระ ซึ่งพบได้ในโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของกระเพาะอาหารและลําไส้ เช่น แผลในกระเพาะอาหาร มะเร็งทางเดินอาหารริดสีดวงทวาร เป็นต้น

มีขั้นตอนการตรวจอุจจาระอย่างไร?

ขั้นตอนการตรวจอุจจาระเป็นขั้นตอนง่ายๆ ถ้าต้องมีการงดอาหารและ/หรือยาบางประเภทก็ให้ปฏิบัติตามที่แพทย์พยาบาลแนะนำเท่านั้น, นอกจากนั้นคือการเก็บอุจจาระที่ถ่ายตามปกติของ เราใส่ในภาชนะที่โรงพยาบาลให้ไว้ แล้วนำส่งห้องตรวจ/ห้องปฏิบัติการภายใน 24 ชั่วโมงหลังถ่าย อุจจาระ

การเก็บอุจจาระ ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาล หรือเจ้าหน้าที่ห้องตรวจ, ซึ่งโดยทั่วไปเทคนิคในการเก็บอุจจาระ เช่น       

  1. เตรียมวัสดุที่จะป้ายเก็บอุจจาระ ซึ่งควรเป็นไม้แผ่นเล็กๆ ลักษณะคล้ายไม้พาย เช่น ไม้ไอศกรีม หรือช้อนพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง
  2. ปัสสาวะก่อนให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของปัสสาวะซึ่งจะส่งผลให้การตรวจ อุจจาระผิดพลาดได้
  3. ไม่เก็บอุจจาระจากโถส้วม เพราะอุจจาระอาจปนน้ำในโถส้วม ที่อาจส่งผลให้ ผลการตรวจผิดพลาดได้
  4. ใส่ถุงมือยาง ไม่จำเป็นต้องเป็นชนิดปลอดเชื้อ เพื่อป้องกันอุจจาระเปื้อนมือ
  5. ถ่ายอุจจาระลงในแผ่น/ถาดพลาสติก หรือถุงพลาสติกที่ปากถุงกว้าง แห้งสะอาด
  6. ใช้ไม้ป้ายอุจจาระ แล้วเก็บอุจจาระใส่ภาชนะที่ห้องปฏิบัติการหรือเจ้าหน้าที่ให้มา ซึ่งอาจเป็นกล่องหรือขวดที่มีฝาปิดมิดชิด, กระจายการป้ายเก็บฯให้ทั่วก้อนอุจจาระทุกจุด โดยเฉพาะจุดผิดปกติ แต่ต้องไม่เลือกเฉพาะจุดที่ผิดปกติ เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการตรวจ, รวมกันแล้วให้ได้ปริมาณอุจจาระประมาณ “นิ้วหัวแม่มือ” ถ้าอุจจาระเป็นน้ำหรือเป็นมูกเลือดก็ให้เก็บส่วนที่ผิดปกตินั้นๆมาด้วย
  7. ทั้งนี้ การเก็บปริมาณอุจจาระเมื่อเป็นการตรวจเฉพาะเจาะจง ให้เก็บในปริมาณตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาล หรือเจ้าหน้าที่ห้องตรวจ

ในขณะป้ายเก็บอุจจาระ ควรระวังไม่ให้มือสัมผัสกับอุจจาระ

  • ปิดฝาที่เก็บอุจจาระให้สนิท, เช็ดภาชนะบรรจุอุจจาระให้สะอาด
  • ถอดถุงมือ ทิ้งถุงมือ, และไม้/ช้อนป้ายอุจจาระในถุงพลาสติก, ปิดปากถุงให้แน่น, นำทิ้งในถังขยะสำหรับขยะติดเชื้อ, หลังจากนั้น ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำสะอาด
  • ติดชื่อนามสกุล วันที่ และเลขประจำตัวโรงพยาบาลให้ถูกต้องชัดเจนบนภาชนะเก็บ อุจจาระ
  • เก็บภาชนะใส่อุจจาระในถุงพลาสติก 2 ชั้น, ปิดปากถุงทีละชั้นให้แน่นเรียบร้อย
  • นำส่งเจ้าหน้าที่ห้องตรวจ ทั้งนี้อาจเก็บอุจจาระไว้ในตู้เย็นได้นาน 24 ชั่วโมงโดยให้เก็บไว้ในช่องที่ไม่ใช่ช่องเก็บอาหาร น้ำดื่ม และช่องแช่แข็ง

การตรวจอุจจาระได้ผลตรวจเมื่อไร?

เนื่องจากเป็นการตรวจที่ไม่ยุ่งยาก ทั่วไป การตรวจอุจจาระพื้นฐานจึงมักทราบผลภายใน 24 ชั่วโมง, แต่ถ้าเป็นโรงพยาบาลที่มีจำนวนผู้ป่วยต่อเจ้าหน้าที่ห้องตรวจที่น้อย อาจทราบผลตรวจได้ภายในระยะเวลา 2 - 3 ชั่วโมง

การตรวจอุจจาระมีผลข้างเคียงไหม?

ดังกล่าวแล้วว่า การตรวจอุจจาระเป็นการตรวจที่ง่ายไม่เจ็บตัว เพียงเก็บอุจจาระที่ถ่ายออก มาตามธรรมชาติของเรา, ใส่ภาชนะแล้วนำมาส่งยังห้องตรวจหรือห้องปฏิบัติการเท่านั้น, ดังนั้นจึงไม่มีอันตราย ไม่มีผลข้างเคียงใดๆทั้งสิ้น, ตรวจได้ในทุกเพศทุกวัยตั้งแต่เด็กแรกเกิดไปจนถึงผู้สูงอายุ

หลังการตรวจอุจจาระต้องปฏิบัติตนอย่างไร?

ดังกล่าวแล้วว่า การตรวจอุจจาระ คือ การเก็บอุจจาระที่ถ่ายตามปกติ ใส่ภาชนะและนำส่งห้องปฏิบัติการเท่านั้น, ดังนั้นจึงใช้ชีวิตได้ตามปกติทั้งก่อนตรวจนและหลังตรวจฯ, ไม่มีข้อต้องระวังหรือข้อจำกัดใดทั้งสิ้นในการใช้ชีวิตประจำวัน



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์ตรวจสุขภาพและอาชีวเวชศาสตร์

สถานที่

อาคาร 4 ชั้น 1

เวลาทำการ

07:00 - 17:00 น.

เบอร์ติดต่อ

055-90-9000 ต่อ 520801, 520802 

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

‘ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน’ ภัยเงียบที่มาพร้อมกับอายุที่มากขึ้น

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจทำงานผิดปกติ จนไม่มีการบีบตัวหรือหยุดเต้นทันที โดยไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า

blank ดร.นพ.กิติกร วิชัยเรืองธรรม อายุรแพทย์โรคหัวใจ รพ. พิษณุเวช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
‘ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน’ ภัยเงียบที่มาพร้อมกับอายุที่มากขึ้น

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจทำงานผิดปกติ จนไม่มีการบีบตัวหรือหยุดเต้นทันที โดยไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า

blank ดร.นพ.กิติกร วิชัยเรืองธรรม อายุรแพทย์โรคหัวใจ รพ. พิษณุเวช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เอชไพโลไร (H. Pylori) แบคทีเรียตัวร้ายทำลายกระเพาะอาหาร สาเหตุสู่มะเร็ง

เอชไพโลไร (H. Pylori) ไม่ใช่แค่ทำให้เกิดการอักเสบของกระเพาะอาหารเท่านั้น แต่เชื้อเอชไพโลไรยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้ ฉะนั้นหากตรวจพบเชื้อเอชไพโลไร ควรเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่องจากแพทย์เฉพาะทาง และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพราะหากเราได้รับเชื้อตัวนี้ในระยะยาว อาการปวดท้อง อาจไม่ใช่ แค่ปวดท้องธรรมดา อาจนำไปสู่โรคมะเร็งได้

blank โรงพยาบาลพิษณุเวช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เอชไพโลไร (H. Pylori) แบคทีเรียตัวร้ายทำลายกระเพาะอาหาร สาเหตุสู่มะเร็ง

เอชไพโลไร (H. Pylori) ไม่ใช่แค่ทำให้เกิดการอักเสบของกระเพาะอาหารเท่านั้น แต่เชื้อเอชไพโลไรยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้ ฉะนั้นหากตรวจพบเชื้อเอชไพโลไร ควรเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่องจากแพทย์เฉพาะทาง และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพราะหากเราได้รับเชื้อตัวนี้ในระยะยาว อาการปวดท้อง อาจไม่ใช่ แค่ปวดท้องธรรมดา อาจนำไปสู่โรคมะเร็งได้

blank โรงพยาบาลพิษณุเวช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
มะเร็ง 5 อันดับ ที่พบบ่อยในผู้หญิง

โรคมะเร็งที่พบในผู้ป่วยรายใหม่มากที่สุด 5 อันดับแรก ของผู้หญิงไทย  ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งปอด มะเร็งมดลูก ซึ่งผู้หญิงทุกคนมีโอกาสเป็นได้ ถ้ารู้จักการป้องกันโรคก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้

blank โรงพยาบาลพิษณุเวช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
มะเร็ง 5 อันดับ ที่พบบ่อยในผู้หญิง

โรคมะเร็งที่พบในผู้ป่วยรายใหม่มากที่สุด 5 อันดับแรก ของผู้หญิงไทย  ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งปอด มะเร็งมดลูก ซึ่งผู้หญิงทุกคนมีโอกาสเป็นได้ ถ้ารู้จักการป้องกันโรคก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้

blank โรงพยาบาลพิษณุเวช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม