Header

Q&A ตอบคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคกระดูก

นพ.ชุมพล ปิยวัณโณ | โรงพยาบาลพิษณุเวช นพ.ชุมพล ปิยวัณโณ

Q&A ตอบคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคกระดูก

ช่วงเริ่มเปิดเทอมใหม่ เด็ก ๆ เริ่มกลับสู่โรงเรียนกัน สิ่งที่เห็นคือคุณพ่อ คุณแม่บางบ้าน จะรู้สึกว่ากระเป๋าสะพายของลูก ๆ ใหญ่และหนักมาก ถ้าใช้นาน ๆ กระดูกหลังจะคดไหม?

คำตอบ : ไม่ครับ  ส่วนหากใครสนใจรายละเอียดเกี่ยวกับโรคกระดูกหลังคดในเด็ก ๆ หรือวัยรุ่น ติดตามอ่านต่อด้านล่างได้เลยครับ

 

Q : กระดูกหลังคด เกิดขึ้นได้อย่างไร?

A: สาเหตุที่ทำให้กระดูกหลังคดผิดรูป มีได้หลายประการ เช่น ความผิดปกติของกระดูกตั้งแต่เกิด ความผิดปกติของระบบประสาท ความผิดรูปของข้อต่อกระดูกสันหลัง เป็นต้น แต่รูปแบบของกระดูกหลังคดที่พบบ่อยที่สุดในเด็กวัยรุ่น คือ "เป็นแบบที่ไม่มีสาเหตุ (Adolescent Idiopathic Scoliosis)" ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่ชัดเจน มีการคาดเดาว่าอาจจะเกิดจากหลาย ๆ ปัจจัยเช่น

 

  1. ปัจจัยทางพันธุกรรม
  2. ความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง
  3. ความผิดปกติของระบบฮอร์โมน และระบบ metabolism
  4. การเจริญเติบโตของกระดูกที่ผิดปกติ
  5. ปัจจัยทางกลศาสตร์
  6. ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม และ lifestyle เช่นโภชนาการ การออกกำลังกาย เป็นต้น

ซึ่งมักไม่ได้มีปัจจัยใด ปัจจัยหนึ่งที่ชัดเจน ส่วนใหญ่ที่พบ มักเป็นแบบไม่รู้สาเหตุจริง ๆ ครับ

 

Q: กระดูกคดแบบนี้ พบบ่อยไหม มีคนอื่น ๆ เป็นแบบนี้ไหม?

A: จริง ๆ ก็มีพอสมควรครับ เพียงแต่เราอาจจะเห็นหรือไม่เห็นแค่นั้นเอง ตามรายงานวิจัย พบว่า เด็กที่มีกระดูกหลังเอียงแบบน้อยมาก ๆ ไม่เกิน 10 องศา (ดูจากภายนอก อาจไม่รู้) พบได้ถึงร้อยละ 4.5 (หมายความว่า ในห้องเรียน 1 ห้อง ที่มีเด็ก 40 คน จะมีคนที่กระดูกเอียงอยู่ 1-2 คน) อาจมีอาการเพียงไหล่ไม่เท่ากัน หรือกระดูกสะบักเอียงเล็กน้อย ซึ่งถ้าไม่ได้ตรวจหรือสังเกตดี ๆ อาจจะไม่เห็นเลยก็ได้

  •  แบบที่เอียงเล็กน้อย ประมาณ 10-20 องศา พบได้ร้อยละ 2-3
  •  แบบที่เอียงมากขึ้นหน่อย ประมาณ 20-40 องศา ซึ่งเป็นกลุ่มที่ต้องเริ่มรับการรักษาจะพบได้ร้อยละ 0.1-0.5
  •  แบบที่เอียงมากกว่า 40 องศา มีแนวโน้มที่อาจจะต้องรับการผ่าตัด จะพบได้ประมาณร้อยละ 0.1 (ประมาณ 1 ใน 1,000 ราย)

 

Q: กระดูกจะเอียงมากขึ้นไหม?

A: การเพิ่มขึ้นของกระดูกสันหลังที่คด ขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น 

  • เพศหญิง มีโอกาสที่มุมจะเพิ่มขึ้นมากกว่าเพศชาย
  • อายุที่เริ่มตรวจพบ ยิ่งเป็นแต่อายุน้อย ยิ่งมีโอกาสที่จะคดมากขึ้น
  • จำนวน และลักษณะของการคดของกระดูกสันหลัง ซึ่งต้องประเมินจากการถ่ายภาพเอกซเรย์

การที่จะคาดการณ์ หรือประมาณได้ว่าจะคดมากขึ้นไหม จะต้องประเมินจากปัจจัยหลายอย่าง แนะนำว่าควรรับการตรวจกับแพทย์เฉพาะทางกระดูกและข้อ หรือแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูใกล้บ้าน เพื่อประเมินให้ชัดเจนขึ้นครับ

 

Q: ถ้าปล่อยทิ้ง จะหายเอง หรือจะเป็นมากขึ้นไหม?

A: มีทั้งสามแบบ คือ หายเอง เท่าเดิม หรือเป็นมากขึ้นครับ

  • แบบที่หายเอง มีโอกาสน้อยมาก จะมีโอกาสประมาณร้อยละ 3 ในคนที่มุมน้อยกว่า 11 องศา แต่ถ้ามุมมากกว่านั้น โอกาสก็น้อยมาก ๆ ลงไปอีกครับ
  • แบบที่เท่าเดิม คือในกลุ่มคนที่มุมความเอียง ยังคงน้อยกว่า 30 องศาไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งกระดูกหยุดการเจริญเติบโต (ช่วงวัยรุ่นตอนปลาย จนถึงอายุประมาณ 20+ ปี) ความคดก็มักจะคงที่ ไม่ค่อยมีการเพิ่มขึ้นอีกต่อไปแล้ว
  • แบบที่มุมจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ คือกลุ่มที่มุมความคดมากกว่า 50-75 องศา จะมีการเพิ่มของมุมมากขึ้นไปเรื่อย ๆ ประมาณ 0.75-1 องศาต่อปีครับ ซึ่งมักมีความจำเป็นของการผ่าตัดเพื่อยับยั้งความผิดรูป ไม่ให้เป็นมากขึ้นครับ

 

Q: การสะพายกระเป๋าหนัก เป็นสาเหตุทำให้กระดูกคดไหม?

A: จากหลักฐาน ณ ปัจจุบัน ยังไม่พบว่าการสะพายกระเป๋าหนัก หรือท่าทางของการนั่ง จะเป็นเหตุโดยตรง ที่ทำให้มีกระดูกสันหลังคด แต่หากในผู้ที่มีกระดูกสันหลังคดแล้ว การสะพายของหนัก จะทำให้ความสมดุลของกระดูกหลัง เปลี่ยนแปลงได้ง่ายขึ้น จึงแนะนำว่า หากมีกระดูกหลังคดอยู่เดิมแล้ว ไม่ควรสะพายของหนักกว่าร้อยละ 10 ของน้ำหนักตัวครับ

 

Q: จะรู้ได้อย่างไรว่ากระดูกหลังคดหรือไม่?

A: สามารถสังเกต และตรวจเองเบื้องต้นได้ว่ากระดูกหลังเอียง คดหรือไม่ ดูได้ที่รูปประกอบคำบรรยายเลยครับ จะแนะนำถึงวิธีการสังเกต และตรวจเบื้องต้น ให้ผู้ปกครองสังเกตลูกๆหลานๆ ได้ด้วยตัวเองครับ


ภาพที่ 1 ก้มหลัง โน้มตัวไปด้านหน้า ถ้ามีกระดูกหลังคด จะพบว่าจะมีความนูนของหลังสองข้างไม่เท่ากันหรือภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า rib hump ครับ

ภาพที่ 2 คือท่าเดียวกัน เพียงแต่มองจากด้านหลัง จะเห็นความสูงต่ำของลำตัวได้ชัดขึ้นครับ

ภาพที่ 3 คือการใช้อุปกรณ์วัดมุม ถ้าใน smart phone หา search คำว่า scoliometer เลยครับ มีหลายแบบมาก ๆ โหลดมาแล้ว ใช้งานโดยวางทาบกับหลัง ในท่าที่ก้มอยู่ตามภาพ ถ้าปกติ หลังไม่เอียง ค่าก็จะเป็น 0 องศาครับ ปกติถ้าวัดแล้ว มีความเอียงเกิน 7-10 องศา ควรไปรับการตรวจประเมินอีกครั้งโดยแพทย์ และทำการ x-ray ครับ ถ้าพบว่า น่าจะมีกระดูกสันหลังคด แนะนำให้พบแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เพื่อตรวจร่างกายและพิจารณา x-ray ต่อไปครับ



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์กระดูกและข้อ (Orthopedic Center) | โรงพยาบาลพิษณุเวช

ศูนย์กระดูกและข้อ

สถานที่

อาคาร 4 ชั้น 1

เวลาทำการ

08:00 - 17:00 น.

เบอร์ติดต่อ

055-90-9000 ต่อ 520401,  520402

แพทย์ประจำศูนย์

ศูนย์กระดูกและข้อ

พญ.มีนา เพิ่มไทย

ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ

ศูนย์กระดูกและข้อ

นพ.ณัฐ โพธิ์ปาน

ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ

ศูนย์กระดูกและข้อ

นพ.เกรียงกมล เบญจวงศ์เสถียร

ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก รู้ก่อนกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุนป้องกันและรักษาได้ เป็นภาวะที่กระดูกทั่วร่างกายมีมวลกระดูกหรือปริมาณความหนาแน่นของเนื้อกระดูกลดลงจนทําให้กระดูกนั้นเปราะบางและแตกหักได้ง่ายกว่าปกติจาก ตัวสําคัญในการบ่งชี้ถึงความแข็งแรงของกระดูกและความเสี่ยงต่อการหักที่กระดูกนั้นความหนาแน่นกระดูก

blank โรงพยาบาลพิษณุเวช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก รู้ก่อนกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุนป้องกันและรักษาได้ เป็นภาวะที่กระดูกทั่วร่างกายมีมวลกระดูกหรือปริมาณความหนาแน่นของเนื้อกระดูกลดลงจนทําให้กระดูกนั้นเปราะบางและแตกหักได้ง่ายกว่าปกติจาก ตัวสําคัญในการบ่งชี้ถึงความแข็งแรงของกระดูกและความเสี่ยงต่อการหักที่กระดูกนั้นความหนาแน่นกระดูก

blank โรงพยาบาลพิษณุเวช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม