Header

5 มะเร็งยอดฮิต พบบ่อยในคนไทย

พญ.วีรนุช	รัตนเดช พญ.วีรนุช รัตนเดช

5 มะเร็งยอดฮิต พบบ่อยในคนไทย

จากข้อมูลสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ ระบุว่า แต่ละปีมีคนไทยป่วยเป็นโรคมะเร็งรายใหม่มากถึงวันละ 381 คน หรือ 139,206 คนต่อปี และเสียชีวิตจากโรคมะเร็งวันละ 230 คน หรือ 84,073 คนต่อปี 

5 อันดับโรคมะเร็งที่พบบ่อยในผู้ชาย
5 อันดับแรกของมะเร็งที่พบบ่อยในชายไทย ได้แก่ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งต่อมน้ำเหลือง

5 อันดับโรคมะเร็งที่พบบ่อยในผู้หญิง
จากข้อมูลสถาบันมะเร็งแห่งชาติรายงานว่า โรคมะเร็งที่พบในผู้ป่วยรายใหม่มากที่สุด 5 อันดับแรก ของผู้หญิงไทย  ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งปอด มะเร็งมดลูก ซึ่งผู้หญิงทุกคนมีโอกาสเป็นได้ ถ้ารู้จักการป้องกันโรคก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้



มะเร็งตับและท่อน้ำดีพบมากเป็นอันดับ 1 พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิงถึง 3 เท่า ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 30- 70 ปี มะเร็งตับมีสาเหตุหลัก คือ การได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบ พยาธิใบไม้ในตับ การดื่มแอลกอฮอล์ รับสารพิษอะฟลาท็อกซิน (Aflatoxin) การรับยาบางชนิด และพันธุกรรม เป็นต้น
มะเร็งตับและท่อน้ำดี ในระยะแรกมักไม่แสดงอาการ กว่าจะได้รับการวินิจฉัยก็มักจะเข้าสู่ระยะท้าย ซึ่งเป็นระยะแพร่กระจายหรือระยะที่มีความรุนแรงของโรคแล้ว (Advanced Stage) และไม่สามารถรับการรักษาได้ทัน ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตมากที่สุด
อาการมะเร็งตับและท่อน้ำดีระยะท้าย

  • ปวดท้องโดยเฉพาะบริเวณข้างขวาส่วนบน บางรายอาจมีอาการปวดร้าวไปที่หลังหรือไหล่ ท้องบวมขึ้น

  • น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ ทั้ง ๆ ที่รับประทานตามปกติ

  • เบื่ออาหาร ไม่รู้สึกอยากอาหาร

  • อ่อนเพลีย

  • มีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ

  • คลำพบก้อนที่บริเวณตับ

  • ตัวเหลืองและตาเหลือง

มะเร็งปอด เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 2 ในผู้ชายไทย และพบมากเป็นอันดับที่ 4 ในผู้หญิงไทย เป็นโรคที่มีความรุนแรงและมีอัตราการเสียชีวิตสูงมาก คือ มากกว่าร้อยละ 60 ของผู้ป่วย มักตรวจพบโรคเมื่อเซลล์มะเร็งลุกลามเข้าสู่ระยะที่ 4 แล้ว ซึ่งเป็นระยะที่มีอัตราการอยู่รอด 5 ปี ไม่ถึงร้อยละ 5 สาเหตุหลักของมะเร็งปอดมาจากการสูบบุหรี่ หรือรับควันบุหรี่
อาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดในระยะแรก ๆ มักจะไม่ค่อยแสดงอาการที่ชัดเจน มักมีอาการไอเสมหะหรือไอมีเลือด เจ็บหน้าอก หายใจดังและถี่ ความอยากอาหารลดลง เป็นต้น ทั้งนี้อาการของมะเร็งปอดขึ้นอยู่กับความรุนแรงและการกระจายตัวของเซลล์มะเร็ง รวมไปถึงตำแหน่งของก้อนมะเร็งด้วย

อาการมะเร็งปอด

  • ไอมีเลือดปน

  • เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก

  • หายใจหอบ เหนื่อยง่ายกว่าปกติ

  • เสียงแหบ

  • เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน

  • ปวดร้าวที่ไหล่ ต้นแขน และสะบักหลัง

  • ปอดบวม ปอดอักเสบบ่อย

มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เกิดได้กับทุกวัยโดยเฉพาะคนทำงาน ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของโรค แต่ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งนี้ ได้แก่ อายุ โดยเฉพาะผู้ที่อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป มีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่หรือเคยตรวจพบว่ามีติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่มาก่อน มีประวัติเป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ขาดการออกกำลังกาย น้ำหนักเกิน ชอบอาหารไขมันสูง ไม่ค่อยรับประทานผัก ผลไม้
อาการบ่งชี้มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก    
บ่อยครั้งที่อาการของมะเร็งลำไส้ใหญ่อาจไปคล้ายกับโรคอื่น ๆ หรืออาจไม่ได้แสดงอาการมากนัก ทำให้ไม่ได้ระวังตัว จนเป็นเหตุให้จากเนื้องอกธรรมดา ๆ กลายเป็นเนื้อร้ายที่ยากต่อการรักษา
หากมีอาการบ่งชี้เหล่านี้ ควรตั้งข้อสงสัยและรีบไปปรึกษาแพทย์ทันที

  • ท้องเสีย ท้องผูก ท้องอืด บ่อย ๆ

  • ไม่สบายท้อง ปวดแสบร้อน อาหารไม่ย่อย และปวดเกร็ง

  • ลักษณะอุจจาระลำเล็กลงกว่าปกติ

  • อุจจาระปนเลือดสด ๆ หรือเลือดสีคล้ำมาก

  • น้ำหนักลดลงอย่างผิดสังเกต ทั้ง ๆ ที่รับประทานตามปกติ

  • อ่อนเพลีย อ่อนแรง เบื่ออาหาร รับประทานได้น้อย

  • มีภาวะโลหิตจาง

มะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นมะเร็งที่พบได้มากในเพศชาย โดยเฉพาะผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป เกิดจากเซลล์ต่อมลูกหมากเจริญเติบโตผิดปกติและรวดเร็ว จนกลายเป็นก้อนมะเร็งอุดตันทางเดินปัสสาวะในที่สุด และเซลล์มะเร็งเหล่านี้สามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ เช่น กระดูก ปอด ตับ ทำให้อวัยวะเหล่านั้นเสียหาย และอาจทำให้เสียชีวิตได้
อาการสัญญาณเตือนมะเร็งต่อมลูกหมาก
อาการผิดปกติที่เป็นสัญญาณของมะเร็งต่อมลูกหมาก ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับ "การปัสสาวะ" ซึ่งสามารถสังเกตอาการผิดปกติจากการปัสสาวะได้ ดังนี้

  • ปัสสาวะนาน ปัสสาวะขัด ลำของปัสสาวะอ่อนแรง หรือปัสสาวะเป็นหยด ๆ

  • ปวดปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ

  • ตื่นขึ้นมากลางดึกเพื่อปัสสาวะบ่อยขึ้น

  • รู้สึกเจ็บปวดเวลาถ่ายปัสสาวะ

  • หากอาการรุนแรงอาจมีเลือดปนออกมากับปัสสาวะ

เกิดจากการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของระบบต่อมน้ำเหลือง และความผิดปกติของเม็ดเลือดขาว โดยทั้งสองระบบเป็นเรื่องของภูมิคุ้มกันเหมือนกัน ซึ่งไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่เชื่อว่าเกิดจากการกลายพันธุ์ของเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง การติดเชื้อบางชนิด การใช้ยากดภูมิคุ้มกัน เป็นต้น
มะเร็งต่อมน้ำเหลืองจะเกิดกับอวัยวะต่าง ๆ ของระบบต่อมน้ำเหลือง ได้แก่ ม้าม ไขกระดูก ต่อมทอนซิล และต่อมไทมัส
อาการของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

  • พบก้อนที่บริเวณต่อมน้ำเหลือง เช่น คอ รักแร้ ขาหนีบ โดยไม่มีอาการเจ็บ แต่บางครั้งการคลำเจอก้อนก็อาจไม่ใช่ก้อนมะเร็งเสมอไป อาจเป็นตัวโรคอื่น ๆ ที่ไม่ใช่มะเร็ง

  • มีไข้ หนาวสั่น เหงื่อออกมากในกลางคืน

  • เบื่ออาหาร น้ำหนักลดเร็ว อ่อนเพลียโดยไม่ทราบสาเหตุ

  • ไอเรื้อรัง หายใจไม่สะดวก

  • ต่อมทอนซิลโต

  • ปวดศีรษะ

  • ซีด เลือดออกง่าย อาจสังเกตพบจุดเลือดออกตามตัวหรือจ้ำเลือด

  • มะเร็งต่อมน้ำเหลืองในช่องท้อง จะมีอาการแน่นท้อง อาหารไม่ย่อย ปวดท้อง หรือท้องโตขึ้นจากการมีน้ำในช่องท้อง

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองสามารถรักษาให้หายได้ ถ้าไม่ได้อยู่ในระยะแพร่กระจาย จึงควรสังเกตตัวเองอยู่เสมอ หากคลำเจอก้อน ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อการรักษาได้อย่างทันท่วงที

มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบมากอันดับ 1 ของหญิงไทย ความเสี่ยงของโรคจะเพิ่มขึ้นตามอายุ โดยเฉพาะผู้มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ได้แก่ พันธุกรรม การกลายพันธุ์ของยีน BRCA การได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นเวลานาน เคยมีประวัติเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ น้ำหนักเกิน ขาดการออกกำลังกาย ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านมในประเทศไทยส่วนมากจะมาพบแพทย์ด้วยปัญหาก้อนที่เต้านม ซึ่งอาจมีขนาดของก้อนแตกต่างกัน อย่างไรก็ตามการมีก้อนที่เต้านมในผู้หญิงไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นมะเร็งสมอไป ก้อนในต้านมส่วนมากไม่ใช่มะเร็ง จากสถิติพบว่าถ้าพบก้อนที่ต้านมในผู้หญิงที่อายุน้อยกว่า 30 ปี จะมีโกาสเป็นมะเร็งเพียง 1.4% แต่ถ้าพบก้อนในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 50 ปี จะมีโอกาสเป็นมะเร็งสูงถึง 58% ดังนั้น หากคลำพบก้อนที่เต้านมแม้ว่าจะไม่มีอาการเจ็บหรือปวด ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจและรักษาตามความเหมาะสม 
อาการสัญญาณเตือนมะเร็งเต้านม
นอกจากก้อนที่เต้านมแล้ว อาการอย่างอื่นที่ควรมาพบแพทย์ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของผิวหนังบริเวณหน้าอก เช่น มีรอยบุ๋ม ย่น หดตัว หนาผิดปกติคล้ายเปลือกส้ม หรือบางส่วนเกิดเป็นสะเก็ด ความเปลี่ยนแปลงของหัวนม เช่น มีการหดตัว หัวนมบอด คันหรือแดงผิดปกติ มีน้ำเหลืองไหลหรือเลือดออกทางหัวนม อาการเจ็บเต้านม หรือ มีก้อนที่รักแร้  หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อให้ได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยเร็ว

มะเร็งปากมดลูกมะเร็งที่พบได้บ่อยเป็นอันดับ 2 ของหญิงไทย เกิดได้กับผู้หญิงทุกคนที่ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ กว่าร้อยละ 90 ของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกมีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papillomavirus) ซึ่งเป็นไวรัสที่ติดต่อผ่านการสัมผัสทั้งจากการมีเพศสัมพันธ์และไม่ใช่เพศสัมพันธ์ ปัจจัยอื่นที่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปากมดลูกมากขึ้น ได้แก่ ช่วงอายุระหว่าง 40-50 ปี มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย เปลี่ยนคู่นอนบ่อย มีบุตรหลายคน สูบบุหรี่ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น  โรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) ผู้ติดเชื้อเอชไอวี
อาการมะเร็งปากมดลูก
มะเร็งปากมดลูก ในระยะเริ่มแรกหรือระยะก่อนเป็นมะเร็ง จะไม่มีอาการใด ๆ เลย หากมีอาการแสดงว่าโรคได้ดำเนินไปมากแล้ว เช่น มีเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด ประจำเดือนมานานผิดปกติ มีเลือดออกหลังวัยหมดประจำเดือนแล้ว มีตกขาวมากและมีกลิ่นผิดปกติ

มะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 5 ของหญิงไทย สาเหตุของโรคยังไม่แน่ชัด แต่ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนเพศหญิง ดังนั้นผู้หญิงที่มีบุตรน้อยหรือไม่มีบุตร มีประจำเดือนต่อเนื่องแม้จะถึงวัยที่ควรหมดประจำเดือนแล้ว ภาวะฮอร์โมนไม่คงที่ เช่น ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ รวมถึงผู้ป่วยเบาหวาน น้ำหนักตัวมาก อาจมีความเสี่ยงต่อมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้มากขึ้นอาการของมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
อาการที่พบบ่อย คือ ประจำเดือนผิดปกติ เช่น มาบ้างไม่มาบ้าง มานานกว่าปกติ มีเลือดออกจากช่องคลอดทั้งที่หมดประจำเดือนแล้ว

ที่มา : โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ , กรมอนามัย

ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์มะเร็งพิษณุเวช ฮอไรซัน

สถานที่

เวลาทำการ

เบอร์ติดต่อ

055-90-9000 ต่อ 520101, 520102

แพทย์ประจำศูนย์

ศูนย์มะเร็งพิษณุเวช ฮอไรซัน

พญ.วีรนุช รัตนเดช

อายุรแพทย์โรคมะเร็ง

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคมะเร็ง 5 อันดับ ที่พบบ่อยในผู้หญิง

โรคมะเร็ง 5 ที่พบบ่อยในผู้หญิง จากข้อมูลสถาบันมะเร็งแห่งชาติรายงานว่า โรคมะเร็งที่พบในผู้ป่วยรายใหม่มากที่สุด 5 อันดับแรก ของผู้หญิงไทย  ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งปอด มะเร็งมดลูก ซึ่งผู้หญิงทุกคนมีโอกาสเป็นได้ ถ้ารู้จักการป้องกันโรคก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้

พญ.วีรนุช	รัตนเดช พญ.วีรนุช รัตนเดช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคมะเร็ง 5 อันดับ ที่พบบ่อยในผู้หญิง

โรคมะเร็ง 5 ที่พบบ่อยในผู้หญิง จากข้อมูลสถาบันมะเร็งแห่งชาติรายงานว่า โรคมะเร็งที่พบในผู้ป่วยรายใหม่มากที่สุด 5 อันดับแรก ของผู้หญิงไทย  ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งปอด มะเร็งมดลูก ซึ่งผู้หญิงทุกคนมีโอกาสเป็นได้ ถ้ารู้จักการป้องกันโรคก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้

พญ.วีรนุช	รัตนเดช พญ.วีรนุช รัตนเดช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
มะเร็งปากมดลูกอันตรายแค่ไหน

มะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของหญิงไทย ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการติดเชื้อไวรัส HPV (Human papilloma virus) โดยการมีเพศสัมพันธ์ อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับมะเร็งชนิดอื่นแล้ว มะเร็งปากมดลูก สามารถป้องกันและรักษาให้หายขาดได้ ถ้าสามารถตรวจพบ ได้เร็วในระยะก่อนเป็นมะเร็ง แต่สาเหตุสําคัญที่ทําให้โรคนี้ยังเป็นกันมากในปัจจุบัน เนื่องจากผู้หญิงส่วนใหญ่มักปฏิเสธการตรวจภายในเพื่อตรวจหา เซลล์มะเร็งปากมดลูกเพียงเพราะอายหรือไม่กล้ามาตรวจ

มะเร็งปากมดลูกอันตรายแค่ไหน

มะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของหญิงไทย ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการติดเชื้อไวรัส HPV (Human papilloma virus) โดยการมีเพศสัมพันธ์ อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับมะเร็งชนิดอื่นแล้ว มะเร็งปากมดลูก สามารถป้องกันและรักษาให้หายขาดได้ ถ้าสามารถตรวจพบ ได้เร็วในระยะก่อนเป็นมะเร็ง แต่สาเหตุสําคัญที่ทําให้โรคนี้ยังเป็นกันมากในปัจจุบัน เนื่องจากผู้หญิงส่วนใหญ่มักปฏิเสธการตรวจภายในเพื่อตรวจหา เซลล์มะเร็งปากมดลูกเพียงเพราะอายหรือไม่กล้ามาตรวจ

ตารางการรับวัคซีนสำหรับลูกน้อย

วัคซีนพื้นฐานสำหรับเด็กตามที่กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศแนวทางแนะนำปฏิบัติ เป็นสิ่งที่พ่อแม่ควรรู้ เพราะเด็กเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสติดเชื้อง่าย และอาจเกิดความรุนแรงของโรคได้ง่าย เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ควรพาลูกน้อยไปฉีดวัคซีนให้ครบ และตรงตามกำหนด เพื่อสุขภาพที่ดีของลูก

ตารางการรับวัคซีนสำหรับลูกน้อย

วัคซีนพื้นฐานสำหรับเด็กตามที่กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศแนวทางแนะนำปฏิบัติ เป็นสิ่งที่พ่อแม่ควรรู้ เพราะเด็กเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสติดเชื้อง่าย และอาจเกิดความรุนแรงของโรคได้ง่าย เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ควรพาลูกน้อยไปฉีดวัคซีนให้ครบ และตรงตามกำหนด เพื่อสุขภาพที่ดีของลูก